เจ็บป่วยก็ต้องกินยา อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป มีคำเตือนอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมอยู่บ่อยครั้ง โดยล่าสุด นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์เตือนในเรื่องดังกล่าว

โดยเป็นการหยิบเคสผู้ป่วยรายหนึ่ง ที่หมอระบุว่า เป็นหนึ่งในหลายสิบรายที่เจอแบบนี้อยู่ซ้ำๆ โดยเกิดจากการใช้ยาจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้น จากอาการเล็ก ไปถึงอาการหนัก โพสต์ระบุว่า ” โด๊ปยาเป็นกำ…ก็ไม่รอด เรื่องนี้เกี่ยวกับการได้รับยาที่อาจไม่ถูกต้องพอเหมาะและสมเหตุสมผล และเกิดปฏิกิริยาข้างเคียงต่อกันเป็นลูกโซ่ คนไข้รายนี้เป็นหนึ่งในหลาย 10 รายซ้ำซากที่เจอ

คุณสมชาย (นามสมมติ) อายุ 56 ปี ครอบครัวพามาพบหมอเพื่อช่วยให้รักษาโรคสมองเสื่อม อัมพฤกษ์ โรคพาร์กินสัน และอื่นๆ การตรวจสอบยาพบว่า คุณสมชายมียา 22 ชนิด (43 เม็ดต่อวัน) และมียาฉีดอาทิตย์ละครั้ง เดิมมีสุขภาพดีมาตลอด ลงพุงเล็กน้อย มีไขมัน คอเลสเทอรอลสูงประมาณ 260 โดยที่มีไขมันเสียที่เรียกว่า LDL เท่ากับ 120 และมีไขมันดี หรือ HLD 45

ซึ่งไขมันระดับนี้คุมอาหาร ออก กำลังสม่ำเสมอ ควรจะเพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเพื่อสุขภาพ คือวันละ 2 เป๊ก วิสกี้ต่อวัน ความดันโลหิตไม่เคยสูงกว่า 130/85 มาตลอด ซึ่งถือว่าไม่มีความดันโลหิตสูง ออกกำลังตามสะดวก หมายความว่า ออกน้อยมาก หรือไม่ออกเลย แต่ยังคงทำงานธุรกิจได้อย่างกระฉับกระเฉง ครอบครัวไม่มีใครเจ็บป่วยทางโรคเส้นเลือดของหัวใจ หรือสมองและไม่มีสมองเสื่อม

อาการเริ่มต้น เมื่อคุณสมชายเริ่มบ่นให้ภรรยาฟังว่ามี “บ้านหมุนโคลงเคลง” เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว อาการหมุนไม่รุนแรง ไม่เคยล้ม ขณะที่ล้มตัวลงนอนตะแคงข้างขวา จะเกิดอาการเวียนหัวเป็นระยะสั้นๆ หรือเมื่อเปลี่ยน ท่าก็ดูเหมือนอาการจะหายไป เดินเหินยังทำได้ปกติ ไม่มีเห็นภาพซ้อน หูไม่มี เสียงดัง ไม่มีชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก หรือมีมือ-แขนแกว่งจับของไม่ถูก

ภรรยาพาคุณสมชายไปพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้รับการวินิจฉัยเกือบในทันทีที่เอ่ยถึงอาการบ้านหมุนว่า น่ากลัวจะเป็นเส้นเลือดตีบในสมอง และถูกจับตัวเข้าทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ตามลำดับ

และการตรวจอีกสารพัด และได้รับคำบอกเล่าว่าโชคดีที่ยังไม่เป็นมาก แต่ต้องรีบรักษาป้องกันไว้ก่อน

โดยได้ยาแก้เวียน 2 ขนาน นามชื่อ Flunarizine และ Cinnarizine ซึ่งมีการอ้างสรรพคุณด้วยว่าช่วยระบบไหลเวียนเลือดสมองดีขึ้น (ซึ่งไม่จริง) ได้ยาบำรุงสมอง ซึ่งในเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยได้รับการพิสูจน์สรรพคุณว่าเก่งจริง อีก 5 ขนาน และเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความเฉียบคมของสมอง ได้ยาป้องกันสมองเสื่อมอีก 2 ขนาน (ซึ่งไม่เป็นความจริงเช่นเคย) พร้อมกับยาป้องกันเส้นเลือดตีบ 2 ขนาน

ซึ่ง 1 ใน 2 นั้น มียาแอสไพรินเป็นส่วนผสม นอกจากนั้นเพื่อเป็นการปกป้องเส้นเลือดจากไขมันตกตะกอนจึงได้ยาลดไขมันอีก 2 ขนาน ภายในสัปดาห์แรก คุณสมชายดูจะดีขึ้นจากบ้านหมุนโคลงเคลง แต่หลังจากสัปดาห์ที่ 4 คุณสมชายตัวแข็งๆ มือสั่น เดินช้า ตาไม่ค่อยกะพริบ หน้าเคร่ง เฉยเมย และมีอาการปวดเมื่อยตามไหล่ หลัง ขาทั้ง 2 ข้าง จนนอนไม่ค่อยหลับและท้องอืด

เมื่อกลับไปพบคุณหมอคนแรก ได้รับการวินิจฉัยว่า คุณสมชายเริ่มมีอาการของโรคพาร์กินสัน ต้องได้รับยาอีก 2 ขนาน และยาแก้ปวดเมื่อยอีก 1 ขนาน ยาท้องอืดอีก 1 ขนาน ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว อาการของโรคพาร์กินสัน เกิดจากยาแก้เวียน ซึ่งข้อบ่งชี้กำหนดให้ใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ และผลข้างเคียงจะก่อให้เกิดโรคพาร์กินสันได้หากใช้ติดต่อกัน

โรคพาร์กินสัน ตามปกติจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป จนระยะเวลาเป็นหลายปีจึงมีสภาพเช่นนี้ ยกเว้น มีการโด๊ปยาช่วยโรคพาร์กินสันอย่างมโหฬารจะเกิดอาการเลวลงอย่างรวดเร็วได้ อาการปวดเมื่อยเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดไขมัน ซึ่งกรณีนี้ได้รับ 2 ตัวพร้อมกัน เพื่อลดทั้งคอเลสเทอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์จะยิ่งเพิ่มอัตราของอาการข้างเคียงนี้

ในกรณีของคุณสมชายยังได้วิตามินบำรุงหลายกำมือ ผ่านไปอีก 3 อาทิตย์อาการตัวแข็งยังเป็นอยู่ และมีอาการงกๆเงิ่นๆ มากขึ้น เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยน หวาดระแวง กลัวสมบัติจะหาย เห็นภาพหลอน จึงไปพบคุณหมอคนที่ 2 ซึ่งก็ได้ให้ยารักษาโรคจิตและยานอนหลับ

ทั้งนี้อาการทางจิตเป็นปฏิกิริยาหรือผลข้างเคียงต่อยาสมองเสื่อมและยาช่วยบรร-เทาโรคพาร์กินสัน ในโลกนี้ยังไม่มียาตัวใดที่สามารถรักษาอัลไซเมอร์และพาร์กินสันได้ ยาป้องกันสมองเสื่อม 2 ขนานที่ว่านี้ไม่มีผลใดๆในการชะลอหรือรักษาต้นเหตุ เป็นเพียงกระตุ้นสารเคมีในสมองให้รู้สึกตื่นตัว ฉับไว จะได้จำได้มากขึ้นบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ คุณหมอคนที่ 2 ยังได้ให้ยาแก้โรคกระเพาะท้องอืดมาอีก 1 ขนาน

อาการทั้งหมด ดี-เลว สลับกันไป จนทรุดหนักลงเรื่อยๆในช่วง 4 เดือนหลังจนถึงกับเดินลำบาก ต้องนั่งรถเข็นและพูด “ถามคำ ตอบคำ” ซึ่งน่าจะเป็นผลของยาโรคจิต ซึ่งทำให้อาการพาร์กินสันเลวลง และคุณสมชายกลายเป็นซอมบี้ มีอาการของโรคพาร์กินสันจริง ร่วมกับอิทธิพลของยานอนหลับ ซึ่งจะทำให้สมองและประสาทรับรู้การโต้ตอบ สั่งงานเชื่องช้าไปด้วย

หมอแนะนำให้คุณสมชาย หยุดยาทั้ง 23 ชนิด รวมทั้งยาฉีด 1 เดือนผ่านไปจนหมอลืมไปแล้วด้วยซ้ำ คุณสมชายเดินเข้ามาพบหมอในห้องตรวจพร้อมกับครอบครัวในสภาพปกติ จากอาการทั้งหมด คุณสมชายมีอาการบ้านหมุนจาก “หินปูนท่อน้ำในหู” ซึ่งเป็นโรคไม่ร้าย แรงแต่อาจเป็นๆ หายๆ และวิธีการรักษา คือใช้ยาแก้เวียนแต่น้อยเท่าที่จำเป็น และให้มีการเคลื่อนไหวหรือมีการบริหารท่าต่างๆ เพื่อปรับสมดุลจาก “หินปูนท่อน้ำในหู” นำไปสู่การวินิจฉัย “อัมพฤกษ์”

ซึ่งไม่เป็นจริงและได้ยาบำรุงรวมทั้งยาผีบอกอีกนับไม่ถ้วน และจากความเชื่อของคุณสมชายเองยังได้เสาะหาอาหารเสริมที่โฆษณาในทีวี-นิตยสารอีก 3-4 ชนิด จนตัวคุณสมชายได้กลายเป็น “สนามรบ” ของยาหลายชนิดและเป็นที่มาของการเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์… การเลิกนิสัยที่อะไรๆต้องกินยาก่อน น่าจะเป็นบทเรียนของคุณสมชายและเพื่อนแพทย์ทุกคนครับ.

Straight roads are for fast cars, turns are for fast drivers.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก