โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า เนื่องด้วยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรากฏจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่แอดมิทในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบมีสายพันธุ์ลูกผสม (XBB*) เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ตอบสนองการรักษาด้วย Long-acting antibody (LAAB)
เพื่อให้บริการผู้ป่วยมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ จึงขอปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ดังนี้
1. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ : ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยรักษาตามอาการ ไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง
2. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ หรือภาพถ่ายรังสีปอดปกติ : ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยรักษาตามอาการ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง
3. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน : ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยพิจารณาให้ ยาต้านไวรัส ภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ดังนี้
ยา Nirmatrelvir+ritonavir และให้ตรวจสอบ drug interaction ก่อนใช้ยาตาม QR code
ยา Remdesivir โดยสั่ง เIV drip ที่ห้องแยก อ.4 เป็นเวลา 3 วันต่อกัน
4. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีปอดอักเสบรุนแรงและมี hypoxia (resting O2 saturation s94%) : ให้การรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้ยาต้านไวรัส Remdesivir ร่วมกับ corticosteroid หรือ ยากลุ่มอื่น ตามดุลยพินิจแพทย์ โดยให้ admit ที่หอผู้ป่วยตามความรุนแรง ดังต่อไปนี้
4.1 ผู้ป่วยที่รักษาด้วย High flow oxygen/ Respirator ให้ admit ที่หอผู้ป่วย SDICU95 (3 เตียง)
4.2 ผู้ป่วยที่รักษาด้วย oxygen cannula/ oxygen mask ให้ admit โดยใช้ห้อง AIIR ที่หอผู้ป่วย (2TP,
4NW, 4TW, 5SE, 5SW, 6NW และ 6NE) หรือห้องแยกเดี่ยวหรือห้องพิเศษอื่น ๆ
4.3 กรณีหอผู้ป่วยตามข้อ 4.1 หรือข้อ 4.2 เริ่มเต็ม ให้พิจารณาประสานส่งต่อที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรี-
นฤบดินทร์ หรือโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย