ช้าง ถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย ปัจจุบันสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดให้ช้างแอฟริกาเป็นชนิดที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ และช้างเอเชียเป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่เรียกทั่วไปว่าถูกขึ้นบัญชีแดง ซึ่งช้างเอเชียจะพบมากในบริเวณพื้นที่ India และ Southeast Asia โดยเฉพาะประเทศไทย ได้ถูกกำหนดว่าเข้าข่ายมีความเสี่ยงอย่างสูงที่จะสูญพันธ์จากการใช้แรงงานช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้หรือในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังขยายตัวในปัจจุบัน

ล่าสุดมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าประเทศไทย (WFFT) ได้เผยภาพของช้างพัง วัย 71 ปีที่ชื่อว่า “ไพลิน” ซึ่งมีอาการ “กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว” จากทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาอย่างยาวนาน กว่า 25 ปี โดยถูกใช้งานบรรทุกนักท่องเที่ยว ซึ่งบางครั้งอาจมากถึง 6 คนในครั้งเดียว

“ตอนนี้หลังของไพลินยังคงมีรอยแผลเป็นจากแผลกดทับเดิม การกดทับร่างกายของช้างอย่างต่อเนื่องนี้ อาจทำให้เนื้อเยื่อและกระดูกที่หลังของพวกมันเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกสันหลังของพวกมันเสียหายอย่างไม่อาจแก้ไขได้”

ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าประเทศไทย (WFFT)

“ไพลินมาถึงสถานพักพิงของเราในปี 2549 หลังจากทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมายาวนาน เพราะรู้สึกว่าเธอเชื่องช้าเกินไป มักเจ็บปวดตลอดเวลา และไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนเดิมอีกต่อไป จึงเป้นสาเหตุให้เธอถูกเจ้าของคนก่อนทอดทิ้งไปในที่สุด”

ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าประเทศไทย (WFFT)
มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (WFF)
ขอบคุณภาพจาก : มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (WFF)

ด้าน ทอม เทย์เลอร์ ผู้อำนวยการโครงการของมูลนิธิฯ เสริมว่า “แม้ว่าช้างจะขึ้นชื่อเรื่องพละกำลังและขนาดของมัน แต่กระดูกสันหลังหลังของพวกมันธรรมชาติไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักนักท่องเที่ยวที่มากแบบนี้ จริงๆ แล้วกระดูกสันหลังของพวกมันควรที่จะยืดสูงขึ้น แต่การกดทับกระดูกสันหลังอย่างต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวอาจส่งผลให้ร่างกายและกระดูกสันหลังเสียหายอย่างถาวร”

WFFT ยังระบุข้อมูลอีกว่าช้างที่ได้รับการช่วยเหลือซึ่งได้นำมาอยู่กับมูลนิธิฯ ส่วนใหญ่ประสบกับการถูกทารุณกรรมมานานหลายทศวรรษ แม้ว่าเราจะไม่มีวันเข้าใจความเจ็บปวดที่สัตว์เหล่านี้เคยประสบในอดีต แต่อย่างน้อยตอนนี้พวกมันก็สามารถใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างสงบสุขในศูนย์พักพิงของเรา เราหวังว่าภาพถ่ายเหล่านี้จะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวทำการค้นคว้าและสนับสนุนเขตรักษาพันธุ์ช้างที่มีจริยธรรมและยั่งยืนเท่านั้น ในขณะที่หลีกเลี่ยงสถานที่ให้บริการขี่ช้างหรือการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์อื่นๆ

ทั้งนี้ มูลนิธิฯ กำลังพยายามที่จะแชร์เรื่องราวของไพลิน เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความโหดร้ายของการใช้แรงงานช้าง และเตือนผู้คนว่าอย่าขี่ช้างเหล่านี้ ซึ่งหลังอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศเริ่มฟื้นตัวหลังจากวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง

โดยมูลนิธิฯ ได้ระบุข้อมูลทิ้งท้ายอีกว่ายังมีช้างที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกายจากการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับการช่วยเหลือเหมือน “ไพลิน” อีก 22 เชือก ให้ได้ใช้ชีวิตแบบอิสระในพื้นที่เขตอนุรักษ์ที่มีขนาด 44 เอเคอร์ ใกล้กับอำเภอหัวหิน  

อ้างอิงข้อมูลจาก: มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (WFF)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก