วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “วันสตรีสากล” (International Women’s Day : IWD) เป็นวันที่สตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา หรืออาชีพใด จะร่วมกันเฉลิมฉลองเพื่อความเสมอภาคที่ได้รับมาและสะท้อนถึงความเท่าเทียมกันในสังคม

จุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็นวันสตรีสากลกลับมีที่มาที่ค่อนข้างน่าเศร้าพอสมควร เริ่มจากที่แรงงานสตรีในโรงงานทอผ้า เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ รวมตัวกันประท้วงจากการถูกเอาเปรียบและทารุณจากนายจ้าง พร้อมกับเรียกร้องให้มีการเพิ่มค่าจ้างและสิทธิของพวกเธอ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 ทว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นจบลงด้วยการเสียชีวิตของหญิงผู้ประท้วงมากถึง 119 คน ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่

การประท้วงในครั้งนั้นไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงตามที่แรงงานสตรีต้องการ ล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 1907 แรงงานหญิงในโรงงานทอผ้า เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งทนไม่ไหวต่อการถูกเอาเปรียบจากนายจ้างเช่นเดียวกัน โดยพวกเธอถูกบังคับให้ทำงานวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ แต่พวกกลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิดและจะถูกไล่ออกจากงานหากตั้งครรภ์ “คลาร่า เซทคิน” นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน จึงลุกขึ้นมาปลุกระดมเหล่าแรงงานสตรีนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง และปรับปรุงสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสม และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

คลาร่า เซทคิน ผู้ให้กำเนิด วันสตรีสากล
คลาร่า เซทคิน ภาพจาก Wikipedia

แม้ว่าการเรียกร้องครั้งนี้จบลงด้วยการที่แรงงานสตรีถูกจับกุมหลายร้อยคน แต่มันกลับสร้างแรงกระเพื่อมและทำให้สตรีทั่วโลกตระหนักถึงสิทธิของพวกเธอมากขึ้น จนนำไปสู่การเดินขบวนของแรงงานสตรีกว่า 15,000 คน ในเมืองนิวยอร์กเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” หมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดี

การเรียกร้องของแรงงานสตรีในครั้งนั้นประสบความสำเร็จในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 เมื่อตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮแกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งในที่ประชุมรับรองข้อเรียกร้องของพวกเธอ ประกอบด้วย ลดเวลาการทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และให้เวลาพักผ่อน 8 ชั่วโมง พร้อมกับปรับขึ้นค่าแรงของแรงงานสตรีให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และมีสวัสดิการคุ้มครองสตรีและแรงงานเด็กด้วย พร้อมกันนี้ยังรับรองข้อเสนอของ “คลารา เซทคิน” กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

สีประจำวันสตรีสากล

  • สีม่วง หมายถึง ความยุติธรรมและความมีเกียรติ
  • สีเขียว หมายถึง สัญลักษณ์แห่งความหวงั
  • สีขาว หมายถึง ตัวแทนของความบริสุทธิ์

การเฉลิมฉลองวันสตรีสากลครั้งแรกจึงมีขึ้นในปี ค.ศ. 1911 ที่ประเทศออสเตรีย, เดนมาร์ก, เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ และวันสตรีสากลได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์การสหประชาชาติ (UN) เมื่อปี ค.ศ. 1975 และในปี 1996 ได้กำหนดคำขวัญประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรกว่า “เฉลิมฉลองอดีต และวางแผนเพื่ออนาคต” นับตั้งแต่นั้นความเท่าเทียมของสิทธิสตรีกลายเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความตระหนัก รวมถึงมีการพยายามผลักดันให้มีการตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีอย่างสมบูรณ์

โปสเตอร์วันสตรีสากล โดยกรมประชาสัมพันธ์

ในส่วนของประเทศไทยนั้นซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา นับตั้งแต่นั้นมาวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากลด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล

อีกด้านหนึ่งก็ได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว เช่น แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ปวีณา หงสกุล ฯลฯ

ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยได้กำหนดแนวคิดว่า “พลังสตรีและเด็กหญิง ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี สู่ความเสมอภาคระหว่างเพศอย่างยั่งยืน” เพื่อให้สตรีทุกช่วงวัยได้มีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งร่วมพลิกโฉมประเทศไทยให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ภายในปี 2570

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก