แน่นอนว่าในปัจจุบัน การใช้ชีวิตในยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกินการดื่มการใช้ชีวิตต่าง ๆ หลายครั้งที่ทำให้หลายคนละเลยหรือมองข้ามสุขภาพไป

ในวันนี้ FEED จะนำเรื่องราวที่ผู้อ่านหลายๆท่านน่าจะได้พบเจอหรือกำลังเกิดขึ้นเองกับตัว ณ ตอนนี้ อาการที่เราจะพูดกันวันนี้ว่าด้วยเรื่องการนอนกรน อาการที่หลายๆคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา หลายคนโดนแฟน โดนเพื่อนรำคาญจนไม่สามารถนอนด้วยกันได้ แล้วอาการนอนกรนเกิดจากอะไร ? มีความอันตรายขนาดไหน ?


อาการนอนกรนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การกรนแบบธรรมดา และการกรนแบบอันตราย

การกรนแบบธรรมดาเป็นการกรนที่เกิดจากการตีบแคบในบางช่วงของระบบทางเดินหายใจ โดยเรายังสามารถหายใจได้ อากาศที่ไหลผ่านส่วนที่แคบทำให้เกิดการสะเทือนจนออกมาเป็นเสียงกรน การกรนแบบนี้ไม่อันตรายแต่ก็ไม่ควรมองข้ามไป

ส่วนการกรนแบบอันตราย มักจะพบว่าเป็นการกรนที่เกิดจาก มีส่วนในช่องทางเดินหายใจปิดสนิท อากาศไม่สามารถไหลผ่านเข้าออกได้ เมื่ออากาศไม่สามารถเดินทางได้ เสียงกรนจะหายไป และอันตรายได้เริ่มต้นขึ้นเพราะสภาวะนี้ถูกเรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น ภาษาอังกฤษคือ Obstructive Sleep Apnea นิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA


อันตรายของการหยุดหายใจขณะหลับถูกแบ่งได้เป็นอีก 2 แบบคือ

  1. อันตรายระยะสั้น คือการที่ร่างกายอ่อนเพลีย ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น หรือมีอาการง่วงมากในช่วงกลางวัน
  2. อันตรายระยะยาว ในส่วนนี้คือโรคภัยต่างๆที่พ่วงมากับภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง รวมไปถึงโรคที่กระทบกับคนส่วนมากในปัจจุบันคือ เป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้า

อาการที่สามารถสังเกตได้หากกำลังเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือ

ช่วงกลางวัน ตื่นนอนแบบไม่สดชื่น ง่วงนอนมาก หงุดหงิด ขาดสมาธิ
ช่วงเวลานอน นอนกรนเสียงดังมากเป็นประจำ มีอาการสำลักน้ำลาย หายใจแรงหายใจไม่ออก บุคคลรอบข้างอาจจะสังเกตเห็นการหยุดหายใจได้เป็นช่วงๆ

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาโรคนี้ที่ได้รับการแนะนำมากที่สุดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคือการทำ Sleep Test แบบละเอียด (Full Polysomnography) ที่สามารถวัดข้อมูลต่างๆ ได้อย่างละเอียด ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 8 ข้อมูลคือ

1.คลื่นไฟฟ้าสมอง
2.การเคลื่อนไหวลูกตา
3.คลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อบริเวณคางและขา
4.คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
5.วัดระดับการหายใจผ่านทางจมูก
6.วัดระดับเสียงกรนด้วยไมโครโฟน
7.วัดการเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง
8.วัดระดับออกซิเจนในเลือดและชีพจร

ทางออกที่แพทย์มักแนะนำใช้ในการรักษา
CPAP เป็นวิธีการรักษาแบบแรกที่แพทย์แนะนำ โดยเป็นการอัดอากาศผ่านทางจมูก แรงดันของอากาศที่เข้าไปจะทำให้ทางเดินหายใจไม่ตีบแคบลง เป็นการแก้ปัญหาโดยตรงและสามารถแก้ได้ในทุกระดับความแรงของอาการหยุดหายใจขณะหลับ

Oral Appliance เป็นการใส่ที่ครอบฟัน เพื่อดึงขากรรไกรล่างของเราให้ยืดออกมา ทำให้โคนลิ้นถูกยกขึ้น เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ ซึ่งวิธีการรักษาแบบนี้จะถูกใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่ CPAP ได้

การผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคนี้สามารถทำได้หลายแบบ เช่น การใช้คลื่นวิทยุจี้ การผ่าตัดต่อมทอลซิล การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน การผ่าตัดบริเวณโคนลิ้น การผ่าตัดเลื่อนกรามและขากรรไกร ซึ่งจะได้รับการแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้องรอ เริ่มต้นจากการนอน สำหรับผู้อ่านที่กำลังเผชิญกับปัญหาในชีวิต รู้สึกไม่มีความสุข รู้สึกอ่อนเพลีย คงต้องลองกับมามองย้อนดูตัวเองแล้วว่าปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิตในทุกวันนี้ มาจากการนอนที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ หลายคนเคยกล่าวว่าสิ่งดีๆเริ่มได้ในตอนเช้า แต่ปัจจุบันคำกล่าวนั้นคงไม่เป็นจริงเสียทั้งหมดเพราะการนอนที่มีส่วนถึง 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวัน มีผลกระทบกับชีวิตของเรามากกว่าที่คิด

เรียบเรียง : กัลป์ ศรีอรุณ

อ้างอิง นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์

https:// www.bangkokhospital.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก