มีข่าวอยู่เนืองๆ เรื่องระหว่าง สามี ภรรยา เมื่อถูกหวยแล้ว มีเงินก้อนโต จากนั้นก็เกิดทะเลาะวิวาทกันเรื่องเงิน บ้างก็จะไม่แบ่ง บ้างก็ขอเลิก บ้างก็หอบเงินหนีไปเลย เราลองมาดูข้อกฎหมายในเรื่องเหล่านี้กันบ้าง

“ศาสตราจารย์พิเศษประสพสุข บุญเดช” อดีตประธานวุฒิสภา และอาจารย์บรรยายวิชากฎหมายครอบครัว คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเนติบัณฑิตยสภา เคยให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงประเด็น สามี-ภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสถือว่าเป็นสามี-ภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นเงินถูกหวยจึงไม่ใช่สินสมรส เมื่อมีกรณีฟ้องหย่าจึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งตามหลักสินสมรส

ประเด็นต่อมา แม้ว่าจะไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่สามี-ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เงินดังกล่าวจะถือว่าเป็นเงินที่หามาได้ร่วมกัน อันจะเข้าหลักกรรมสิทธิ์รวมที่จะต้องแบ่งระหว่าง ชาย-หญิงที่อยู่กินกัน (แต่ไม่จดทะเบียนสมรส) หรือไม่ ? อ.ประสพสุข กล่าวว่า เงินดังกล่าว ก็ไม่ใช่เงินที่หามาได้ร่วมกัน อันจะต้องมาแบ่งตามหลักกรรมสิทธิ์รวม ถือเป็นลาภที่ได้มาด้วยตัวคนเดียว มิใช่เงินที่ได้มาจากการลงน้ำพักน้ำแรงร่วมกัน โดยยกตัวอย่างว่า หากชาย-หญิง ทำไร่อ้อยด้วยกัน เก็บเงินซื้อรถกระบะ ซื้อที่ดิน อันนี้จะเข้าหลักกรรมสิทธิ์รวมที่จะต้องแบ่ง แต่กรณีถูกหวยเป็นเรื่องส่วนตัวล้วนๆ

สลากกินแบ่งรัฐบาล

ศาสตราจารย์พิเศษประสพสุข ยังพูดให้ฟังถึงกรณีสามี-ภรรยาถูกหวยให้ฟังอีกว่า มีตัวอย่าง สามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส ต่อมาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซื้อหวยแล้วถูกหวย แม้ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เงินที่ได้มาถือเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่งกัน

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่าง สามี-ภรรยา ก่อนจดทะเบียนสมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซื้อหวย แล้วต่อมาถูกหวย แม้ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เงินที่ได้มาถือเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่งกัน

เช่น วันที่ 1 ซื้อหวยด้วยเงินส่วนตัว

วันที่ 2 จดทะเบียนสมรส

จากนั้น วันที่ 3 หวยฉบับนั้นถูกรางวัล

กรณีนี้ แม้จะซื้อด้วยเงินส่วนตัวก็ถือเป็นสินสมรส เพราะเท่ากับเงินนั้นได้มาระหว่างสมรส ซึ่งกรณีต่างๆ ที่กล่าวมา ก็เคยเป็นที่ถกเถียง แต่เมื่อขึ้นสู่ศาลฎีกาก็เป็นอันยุติ

สรุปว่า

1.หญิง-ชาย  ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  ใครซื้อหวย เงินรางวัลก็น่าจะเป็นทรัพย์สินของคนนั้น

2.สามี ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส  เงินถูกหวยที่ได้มา จัดเป็นสินสมรส

กรณีสุดท้ายหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หอบเงินที่ถูกหวยหนีไป อาจเข้าข้อกฎหมายยักยอกทรัพย์ เป็นฐานความผิดที่กฎหมายระบุว่า หากเป็นการกระทำระหว่างสามี ภรรยา ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ แต่ทั้งนี้ จะต้องชัดเจนว่า เป็นสามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย นั่นคือมีการจดทะเบียนสมรส จะเห็นได้ว่ากฎหมายมีการผ่อนหนักผ่อนเบา ในลักษณะความผิดอันเกี่ยวกับทรัพย์ (แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่กรณีทำร้ายร่างกาย สาหัส หรือถึงแก่ชีวิต) ส่วนคนอื่นก็คือคนอื่น เชียร์ได้แต่พองาม

หมายเหตุ : นอกจากยักยอกทรัพย์แล้ว หากเป็นการกระทำระหว่างสามี-ภรรยา แล้วผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ ยังมีฐานความผิดอื่นอีกได้แก่ ลักทรัพย์  วิ่งราวทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอกทรัพย์ รับของโจร ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก เป็นต้น (อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 71) 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก