รู้ไหมว่า 1 มกราคม ขึ้นปีใหม่ ตามแบบสากลตะวันตก ในเมืองไทย เริ่มขึ้นเมื่อใด ศูนย์ข้อมูลมติชน มีข้อมูลมานำเสนอ ดังนี้
1.เดือนอ้ายขึ้นปีใหม่ของไทยสยามยุคตั้งเดิมดึกตำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว ถือตามจันทรคติ ขึ้น 1 ต่ำ เดือนอ้าย (เตือนที่ 1) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มปีนักษัตรใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วเป็นช่วงหลังลอยกระทงกลางเดือน 12 ถือเป็นส่งท้ายปีเก่า
คติอย่างนี้มีอย่างเดียวกันหมดทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เมื่อ เทียบปฏิทินสากลตามสุริยคติจะอยู่ราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม
2. ชิ้นปีใหม่สมัยกรุงศรีอยุธยา”สยามประเทศ” แบ่งเป็น 2 ภาคส่วน คือของราชสำนักกับของราษฎร
สงกรานต์ ปีใหม่ในราชสำนัก รับแบบแผนพิธิพราหมณ์-ฮินดูจากอินเดียตั้งแต่หลัง พ.ศ. 1000 เป็นตันมา เหมือนกันหมดทุกราชสำนักของรัฐในอุษาคเนย์ คือถือวันสงกรานต์เป็นขึ้นปีใหม่ ตรงกับช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ทางจันทรคติ นับเป็นเดือน 5
เดือนอ้าย ปีใหม่ของราษฎร ไม่รู้จักแบบแผนพราหมณ์-ฮินดู จึงถือเอาขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นขึ้นปีใหม่ตามคติเดิมสืบมา แต่ในสังคมเมืองใช้ทั้งสองคติ คือนับเดือนอ้ายด้วยแล้วทำบุญสงกรานด์ด้วย
3. 1 เมษายน ขึ้นปีใหม่ สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา
4. 1 มกราคม ขึ้นปีใหม่ ตามแบบสากลตะวันตก เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2483 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สืบจนทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูล: ประเพณี 12 เดือน ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอดของคน ปรานี วงษ์เทศ เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์มติชน 2548