“หุ่นพยนต์” เป็นเครื่องรางไสยเวทที่มีประวัติการสร้างตั้งแต่สมัยพุทธกาล คงความขลังปนความน่าสะพรึงแก่ผู้ที่ได้สัมผัส การทำหุ่นพยนต์จะถูกปลุกเสกด้วยกระแสจิตจากผู้มีฤทธิ์คาถาอาคม ซึ่งจะมีทั้งสายให้คุณปกป้อง(สายขาว)และจ้องทำลาย(สายดำ)

ซึ่งความเชื่อของหุ่นพยนต์นี้เอง ได้รับการหยิบขึ้นมาทำเป็นหนังสยองขวัญท้าทายความเชื่อที่กำกับโดย ไมค์-ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ผู้กำกับหนัง 100 ล้าน จากภาพยนตร์ พี่นาค1 ถึง พี่นาค3 บอกเล่าเรื่องราวของความเชื่อและความไม่เชื่อ เดินเรื่องผ่านตัวละครอย่าง ธาม, เต๊ะ, นิก ที่มีชีวิตมาเป็นเดิมพันเพราะถ้าเล่นกับความงมงาย ท้าทายกับศรัทธา ต้องกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่มองไม่เห็น บอกผ่านกิเลสความจริงของมนุษย์ที่มีด้านมืดแฝงตัวอยู่

โดยในภาพยนต์เรื่องหุ่นพยนต์นี้ได้รับการตอบรับจากดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงมากมาย ภูวิน-ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน, อัพ-ภูมิพัฒน์ เอี่ยมสำอาง,นิก-คุณาธิป ปิ่นประดับ, เจมส์-ภูริพรรธน์ เวชวงศาเตชาวัชร์, เอมี่-ทสร กลิ่นเนียม ฯลฯ

หุ่นพยนต์

ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยออกแถลงการณ์เรื่องผลการพิจารณาจัดเรตภาพยนตร์เรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ระบุว่า จากกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีคำสั่งให้ภาพยนตร์เรื่องหุ่นพยนต์ ของ ภณธฤต โชติกฤษฎาโสภณ ต้องตัดทอนฉากต่างๆ ออก เพื่อให้ได้รับ เรท ฉ 20- มิฉะนั้นภาพยนตร์จะถูกห้ามฉาย

ซึ่งคำสั่งที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้สร้างภาพยนตร์ คนทำงานแล้ว ก็ยังส่งผลกับผู้ชมภาพยนตร์ทั่วไปที่ถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการชมภาพยนตร์ ด้วยคำสั่งที่มาจากดุลยพินิจของคนเพียงไม่กี่คน เพราะแม้จะมีการจัดเรตติ้งภาพยนตร์แล้ว แต่คณะกรรมการก็ยังสามารถสั่งตัดทอนเนื้อหาภาพยนตร์ และสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ได้โดยยึดดุลยพินิจของคณะกรรมการเป็นหลัก

สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยเห็นด้วยกับการใช้ระบบเรตติ้งภาพยนตร์ เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์สำหรับผู้ชมภาพยนตร์ตามช่วงวัย แต่สมาคมฯ ขอคัดค้านการใช้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในการตัดทอนเนื้อหาของภาพยนตร์และการแบนภาพยนตร์ในทุกกรณี และขอคัดค้านผลการพิจารณาภาพยนตร์ในครั้งนี้ และจะร่วมมือกับผู้ผลิตภาพยนตร์และผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ในการคัดค้านผลการพิจารณา และดำเนินการในขั้นต่อไป

สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายภาพยนตร์ จากการที่พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ไม่เพียงแต่ไม่ก่อให้เกิดการสนับสนุนวงการภาพยนตร์ไทยอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น ยังเน้นเพียงแต่ให้ภาพยนตร์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบราชการ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปกฎหมายนี้เพื่อคืนสิทธิเสรีภาพในการผลิตและรับชมภาพยนตร์ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ และเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้เป็นประโยชน์กับวงการภาพยนตร์และประชาชนอย่างแท้จริง

คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม มีมติที่ประชุม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์มีมติ ให้แก้ไขฉากต่างๆดังนี้

1. ตัดฉากชื่อวัดเทพหุ่นพยนต์
2. ตัดฉากเณรชกต่อยในผ้าเหลือง และให้มีคำหยาบคายให้น้อยลงเท่าที่จะสามารถจะทำได้
3. ตัดฉากคลุกอาหาร เหมือนรังแกให้เด็กชื่อเต๊ะกิน
4. ตัดฉากเณรกอดผู้หญิงในการต่อสู้ฉากหนึ่งในภาพยนตร์
5. ตัดฉากท่องศีล (ข้อที่ 2) ในขณะที่ฆ่าคนที่ขโมยของ

หุ่นพยนต์

สำหรับเรตติ้ง ฉ20- หมายถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู โดยลักษณะของภาพยนตร์ : มีลักษณะแสดงการมีเพศสัมพันธ์ที่เห็นอวัยวะเพศ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือผู้อื่น หรือแสดงวิธีการก่ออาชญากรรมซึ่งอาจจูงใจหรือส่งเสริมให้เลียนแบบ หรือแสดงวิธีการใช้สารเสพติด หรือลัทธิหรือคำสั่งสอนที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีหรือขนบธรรมเนียมประเพณีหรือจูงใจให้หลงเชื่อ

หุ่นพยนต์

แหล่งที่มาและข้อมูล : สมาคมผู้กำกับภาพยนต์ไทย, ข่าวสด
ติดตามข่าวสารวงการบันเทิงได้ที่ FEE:D

Straight roads are for fast cars, turns are for fast drivers.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก