ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยจำนวนมากซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ประกอบกับค่าครองชีพราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าส่งผลให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย ประจำปี 2566 ปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 15 ปี โดยเฉลี่ยอยู่ที่เกือบ 560,000 บาท ต่อครัวเรือน

“นายธนวรรธน์ พลวิชัย” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2566 ทั้วประเทศจำนวน 1,300 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2566 พบว่า ภาระหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น มากที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ที่มีการสำรวจความคิดเห็นในปี 2552

โดยมีหนี้สินรวมอยู่ที่  559,408.70 บาท ต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น  11.5 %  จากปี 2565 ที่มีหนี้รวม 501,711.84 บาทต่อครัวเรือน แยกเป็นหนี้ในระบบ 80.2% และหนี้นอกระบบ 19.8% โดยมีภาระการผ่อนชำระต่อเดือน 16,742 บาท ต่อเดือน เป็นหนี้ในระบบ 12,012.70 บาท ต่อเดือน  หรือ ประมาณ 80.2% หนี้นอกระบบ 4,715.50 บาท ต่อเดือน หรือ 19.8 %

สาเหตุของการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น

  1. ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น
  2. ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น
  3. รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
  4. ลงทุนในธุรกิจเพิ่มขึ้น
  5. ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาก
หนี้ครัวเรือน เครดิตการ์ด
ภาพประกอบจาก : Unsplash

เกินครึ่งเคยผิดชำระหนี้ เหตุรายได้ลด-ตกงาน

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 75.6% ยอมรับว่าเคยผิดนัดชำระหนี้ หรือขาดการผ่อนชำระหนี้ เนื่องจากปัญหารายได้ลดลง เศรษฐกิจไม่ดีตกงาน ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง 24.4% ตอบว่าไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ และเมื่อถามว่าในอนาคต 6 เดือน – 1 ปีข้างหน้ามีโอกาสจะประสบปัญหาการผ่อนชำระหนี้หรือไม่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพียง 16% ที่ตอบว่า มีโอกาสมากที่จะผิดนัดชำระหนี้ โดยให้เหตุผลว่ารายได้ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น, ดอกเบี้ยสูงจนไม่สามารถผ่อนชำระได้ เศรษฐกิจไม่ดี มีภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น และรายได้ลดลง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 46.3% ตอบว่ามีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาการผ่อนชำระหนี้

ขณะเดียวกันจากการสำรวจพบว่า คน GEN Y และ GEN Z มากถึง 76% ยอมรับว่าใช้เงินแบบไม่วางแผน และ 60.5% มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว และ 47.2 % กู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ โดยเฉพาะการรูดบัตรเครดิต มาใช้ก่อนผ่อนทีหลัง

หนี้ครัวเรือนถึงจุดพีคสุด ปี 2567

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนมีโอกาสสูงขึ้น และคาดวงเงินก่อหนี้ น่าจะพีคสุดในช่วงปี 2567 ส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 2566 สูงสุดจากที่ทำการสำรวจมาในรอบ 15 ปี โดยมีผลพวงมาจาก สงครามการค้า (trade war) ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการระบาดของโควิด ตั้งแต่ปี 2562-63 ทำให้คนก่อหนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่ควรจะเป็นแม้ให้มีการเลือกตั้ง ความแน่นอนทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ชัด ซึ่งคาดว่าต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพสูง รายได้ต่ำไปจนถึงต้นปีหน้า

อย่างไรก็ดี มองว่าแม้หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจะขึ้นไปแตะ 90% ของจีดีพี แต่แนวโน้มจีดีพีที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว และครัวเรือนไม่ตั้งใจจะก่อหนี้มากขึ้น อีกทั้งหนี้ที่ก่อก็เป็นหนี้ในระบบ จึงมองว่าหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหารุนแรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาระดับบุคคค ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงิน กำลังเร่งแก้ไขอยู่

หนี้ครัวเรือน
ภาพประกอบจาก : Unsplash

มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามแนว responsible lending ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยด้านความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักการ 5 ข้อ

  1. การมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ยืม (healthy borrowing) ให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมลูกหนี้ให้มีวินัยทางการเงิน และใช้สินเชื่อที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
  2. การแข่งขันแบบเสรีไม่ผูกขาด (open competition) ลูกหนี้ใช้บริการสินเชื่อและเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจ
  3. ความโปร่งใสและเท่าเทียมระหว่างผู้ให้สินเชื่อ (level playing) ทุกกลุ่มเจ้าหนี้ทั้งธนาคาร Non-bank และสหกรณ์อยู่บนกฎกติกาที่เท่าเทียมกัน
  4. ความยุติธรรม (fairness) อัตราดอกเบี้ยต้องสะท้อนความเสี่ยงที่เป็นจริง ลดภาระลูกหนี้ดีที่ต้องแบกภาระลูกหนี้ที่ไม่ดี
  5. ความครอบคลุมและเข้าถึง (inclusion) สามารถนำข้อมูลทางเลือกมาส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ทุกฝ่ายมองเห็นประโยชน์ร่วมกันทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ ผู้กำกับและรัฐ ไม่ทำให้ใครต้องตกไปอยู่นอกระบบจากมาตรการที่นำมาใช้ และทุกภาคส่วนร่วมแชร์ความเสี่ยงอย่างเป็นธรรมในการแก้ปัญหาหนี้

คนไทยส่วนใหญ่มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยสิ้นสุด ณ เดือนพฤษภาคม 2566 ระบุว่า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของคนไทยส่วนใหญ่กว่า 100 ล้านบัญชี มีเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท ขณะที่บัญชีที่มีเงินฝากมากกว่า 500 ล้านบาท มีอยู่ทั้งสิ้น 1,027 บัญชี

หนี้สินครัวเรือน บัญชีเงินฝากคนไทย ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
บัญชีเงินฝากคนไทย ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ไม่เกิน 50,000 บาท จำนวน 101,666,797 บัญชี
  • เกินกว่า 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จำนวน 3,669,396 บัญชี
  • เกินกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท จำนวน 2,902,430 บัญชี
  • เกินกว่า 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท จำนวน 2,644,513 บัญชี
  • เกินกว่า 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท จำนวน 1,296,684 บัญชี
  • เกินกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท จำนวน 1,311,350 บัญชี
  • เกินกว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 25 ล้านบาท จำนวน 62,386 บัญชี
  • เกินกว่า 25 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท จำนวน 19,005 บัญชี
  • เกินกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท จำนวน 8,492 บัญชี
  • เกินกว่า 100 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท จำนวน 3,683 บัญชี
  • เกินกว่า 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท จำนวน 2,024 บัญชี
  • ตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 1,027 บัญชี

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : แบงก์ชาติเอาจริงแก้หนี้ครัวเรือน  จับมือแบงก์ลุยสางลูกหนี้รายได้ต่ำหมื่น

แหล่งที่มาข้อมูล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก