โบอิ้ง (Boeing) เตรียมสร้างเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์แบบใหม่ล่าสุด ปีกค้ำยันได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยพัฒนากว่า 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13,900 ล้านบาท จาก NASA (นาซา) โดยใช้แนวคิดการออกแบบปีกค้ำยัน Transonic Truss-Braced Wing (TTBW) โดยใช้ปีกยาวและบางเพื่อเพิ่มแรงยก ลดการลาก และเผาผลาญเชื้อเพลิงน้อยลงถึง 30% ซึ่ง Boeing ได้เคยทำการทดลองมาบ้างก่อนหน้านี้
การปรับแต่งประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง แม้จะเป็นตัวเพียงเลขหลักเดียวแต่ในทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมนี้จะช่วยประหยัดได้มาก ยกตัวอย่างเช่นการใช้ฟิล์ม Aeroshark ที่ลดแรงลากของสายการบิน Swiss Airlines ติดบนเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 12 ลำ ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 1% และส่งผลให้สวิสแอร์คาดว่าจะใช้เชื้อเพลิงเครื่องบินน้อยลง 4,800 ตันทุกปี ประหยัดได้เกือบครึ่งล้านดอลลาร์ต่อปีต่อเครื่องบินในราคาน้ำมันปัจจุบัน ใกล้เคียงกับเกือบครึ่งพันล้านต่อปีสำหรับผู้ให้บริการอย่าง American Airlines ซึ่งพึ่งรับเครื่องบินครบ 1,000 ลำในฝูงบินโดยจะเห็นว่าประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น 1% สามารถช่วยได้อย่างมาก
ครั้งแรกที่เราได้พบกับแนวคิดการออกแบบ “ปีกโครงค้ำยัน” ของโบอิ้งในปี 2010 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “Subsonic Ultra Green Aircraft Research” (SUGAR) Volt ซึ่งออกแบบโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของ NASA แนวคิดเครื่องบินแบบปีกค้ำยันใช้โครงสร้างของปีกที่มีความบางและยาวมากขึ้น ลักษณะคล้ายเครื่องร่อนแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน เนื่องจากปีกที่มีความบางและยาวมากขึ้น วิศวกรจึงออกแบบให้มีปีกค้ำยันด้านล่างยึดลำตัวเครื่องบินกับปีกเอาไว้เพื่อเสริมความแข็งแรง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มแรงยกตัวให้กับเครื่องบินเมื่ออากาศไหลผ่าน
โบอิ้งประเมินว่าเครื่องบินที่มีปีกค้ำยันเหล่านี้ สามารถเผาผลาญเชื้อเพลิงได้น้อยกว่าเครื่องบินทั่วไปถึง 50% ในปี 2019 แนวคิดได้รับการออกแบบใหม่ให้บินด้วยความเร็วทรานโซนิกที่ประมาณ 0.8 มัค (593 ไมล์ต่อชั่วโมง 955 กม./ชม.) และไม่ว่าจะเพราะความเร็วที่เพิ่มขึ้นหรือเพียงจากความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์ โบอิ้งสามารถที่จะนำประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันเหล่านี้กลับมา โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ว่า “เมื่อรวมกับความก้าวหน้าที่คาดหวังในระบบขับเคลื่อน วัสดุ และสถาปัตยกรรมระบบ เครื่องบินพานิชย์ขนาดเล็กที่มีการกำหนดค่า TTBW สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยมลพิษได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับเครื่องบินพานิชย์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน”
เป็นเวลานานแล้วในการสร้างแบบจำลองดิจิทัลและการทดสอบอุโมงค์ลมย่อย แต่ตอนนี้ NASA ได้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่ โบอิ้ง ผ่านข้อตกลง SFD Space Act เป็นมูลค่า 425 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะมอบให้อีก 725 ล้านดอลลาร์โดยให้โบอิ้ง และพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ เพื่อไปสร้างเครื่องบินทดสอบอย่างเต็มรูปแบบและทดสอบการบินอย่างถูกต้อง
NASA กล่าวว่า มีแผนที่จะทำการทดสอบเครื่องบินสาธิต Transonic Truss-Braced Wing ให้เสร็จสิ้นภายในช่วงปลายปี 2020 เพื่อให้เทคโนโลยีและการออกแบบที่สามารถให้ข้อมูลและสามารถที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจของอุตสาหกรรมเครื่องบินพานิชย์ขนาดเล็กรุ่นต่อไปที่จะเข้าประจำการในช่วงปี 2030”
แหล่งที่มาและข้อมูล : NewAtlas
ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีและยานยนต์ได้ที่ FEE:D