แม้จะผ่านช่วงเวลาที่แวดล้อมด้วยวิกฤติหลายมิติมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19, ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย  รวมถึงจากกรณี รัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจพลังงานโดยตรง

กลุ่มธุรกิจ ปตท. ก็ยังเดินหน้าต่ออย่างระมัดระวัง และปรับเปลี่ยนหลายๆ เรื่องจากภายในเพื่อพร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ จากทั้งปัจจัยภายในและแรงกดดันจากภายนอกที่ถาโถมเข้าราวกับพายุ

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บอกเล่าถึงการเตรียมปรับรับโจทย์ใหม่ดังกล่าว ในระหว่างเดินทางไปดูงานในประเทศฝรั่งเศส ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

พร้อมกับโฟกัสไปที่จุดสำคัญ 2 เรื่องใหญ่ๆ ซึ่งจะเป็นโจทย์สำหรับอนาคตของ ปตท. นั่นคือ

PTT: Powering Life with Future Energy and Beyond

PTT: Net Zero

เพราะลำพังความสำเร็จด้านตัวเลข  ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวด้านรายได้, ผลกำไร, มาร์เก็ตแค็ป กระทั่งตัวเลขการนำเงินส่งเข้ารัฐมากถึง 1.07 ล้านล้านบาทตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ดูจะไม่เพียงพอ ถ้ามองต่อไปถึงกลยุทธ์ที่จะรับมือกับเทรนดูใหม่ๆที่กำลังเข้ามาท้าทาย

ที่ยืนในธุรกิจพลังงาน แม้จะยังมั่นคงเป็นรายได้หลักด้วยความแข็งแกร่งของ ปตท.เองและกลุ่มบริษัทลูก แต่แรงกดดันจากการต่อต้านการใช้พลังงานจากฟอสซิล (ถ่านหิน,น้ำมัน,แก๊ส) ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ

ถือเป็นความท้าทายสำคัญ เท่าๆ กับการประกาศเป้าหมาย ต้องลดคาร์บอน หรือดำเนินธุรกิจโดยไม่ปล่อยคาร์บอนเลย (Net zero carbon) ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  ตั้งเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะยาว มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ภายในปี 2030

ก่อนจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ ปตท. ต้องวางวิสัยทัศน์พร้อมกำหนดกลยุทธ์ไปยังธุรกิจใหม่ รวมถึงขอบเขตที่ไม่เคยก้าวไปถึงมาก่อน

คุณอรรถพล ขยายความเกี่ยวกับทิศทางใหม่ Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคตโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยสไลด์ที่ชัดเจน

ด้านหนึ่ง Future Energy คือการทรานฟอร์มไปสู่การเป็นผู้เล่นในด้านพลังงานแห่งอนาคต ทั้งในธุรกิจ พลังงานทดแทน Renewable Energy, แบตเตอรี่, ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (ลงทุนทั้งระบบห่วงโซ่) และระบบเชื้อเพลิงไฮโดรเจน

ในระหว่างการเดินทางมาดูงานที่ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับคณะสื่อมวลชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท. เน้นว่า ในช่วงที่ผ่านมา ปตท. เดินหน้าที่จะจับมือร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อก้าวไปกับพลังงานสะอาดยุคใหม่อย่างต่อเนื่อง

เซสชั่นแรกในการเดินทางดูงานที่ฝรั่งเศส มีตัวแทนจาก Air Liquide France นำโดย Mr.Peter Mackey, VP of Strategy & Policy Support, H2E (Hydrogen-to-Energy) Business Line, Air Liquide France นำเสนอทิศทางของการใช้พลังงานไฮโดรเจนที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยในยุโรป (สำหรับภาคอุตสาหกรรม และภาคการขนส่งขนาดใหญ่) กลายเป็นตัวเลือกที่มีโอกาสเข้ามาทดแทน การใช้พลังงานน้ำมัน รวมถึงแก๊สธรรมชาติ

Air Liquide แอร์ ลิควิด คือ ผู้ดำเนินธุรกิจด้านก๊าซ เทคโนโลยี และบริการสำหรับอุตสาหกรรมและสุขภาพนำระดับโลก ซึ่งมีการให้บริการด้านพลังงาน ออกซิเจน ไนโตรเจน และไฮโดรเจนเป็นหลักก่อตั้งในปี พ.ศ. 2445 โดยปัจจุบันมีสำนักงานอยู่ใน 75 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานประมาณ 66,400 คน

ขณะที่ Schneider สำนักงานฝรั่งเศส ต้อนรับคณะดูงานจาก ปตท. และกลุ่มสื่อมวลไทยแบบจัดเต็มเพราะ Schneider คือผู้เชี่ยวชาญในด้านบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า ก็เป็นรายหนึ่งที่นำเสนอแนวคิดในการเปลี่ยนไปสู่ระบบพลังงานสะอาดสำหรับไฟฟ้าในทุกระดับ และพร้อมที่จะพัฒนาแนวร่วมกับ ปตท. หลังจาก จับมือเป็นพันธมิตรกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ไปเรียบร้อยแล้วก่อนหน้านี้

อีกด้านหนึ่งซึ่งสำคัญและเป็นทิศทางใหม่อย่างแท้จริงของ ปตท.ก็คือ  Beyond นั่นคือการบุกเบิกสู่พรมแดนใหม่ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สุขภาพ (อาหาร ยา อาหารเสริม), ยกระดับสู่ธุรกิจมูลค่าสูง,  โลจิสติกส์ , Mobility and Lifestyle ฯลฯ

ในทริปเดินทางดูงานครั้งล่าสุด จึงมี 2 เซสชั่น ที่นำเสนอแบบลงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจด้านสุขภาพ, ยา และอาหาร เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

เริ่มจาก สถาบัน  IRCAD : Research and training center โดย ที่อยู่ใน BioValley France เมือง Starsbourg โดย Professor Jacques Marescaux เป็นประธานและผู้ก่อตั้ง IRCAD รวมถึงเป็นผู้ริเริ่มโครงการ Biocluster ซึ่งเป็นการรวมเทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี การศึกษาเกี่ยวกับภาพ และหุ่นยนต์ มาไว้ภายใน IRCAD จนทำให้เกิดบริษัทสตาร์ทอัพใหม่ๆ ด้านเครื่องมือแพทย์จำนวนมาก มาร่วมบรรยายด้วยตัวเอง

และ กลุ่ม Adalvoโดยมี  Anil Okay  มาบรรยายในหัวข้อ “How to build pharmaceutical industry”  ทั้งนี้ Adalvo คือกลุ่มที่ จับมือร่วมกับบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด  (บริษัทย่อยที่ ปตท. ถือหุ้น 100%) ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพนั่นเอง

Adalvo ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 ซึ่งเดิมเป็นหนึ่งในหน่วยธุรกิจ ของ Alvogen โดย Adalvo นั้นดำเนินธุรกิจลักษณะ B2B ที่สามารถขยายได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งปิดความเสี่ยงโดยการร่วมมือกับ Partner ที่แข็งแรง ตั้งแต่การร่วมกับบริษัทยาชั้นนำในการพัฒนา การนำเข้า และการส่งออกยา Generics รวมถึงสิทธิในการขายและผลิตยา Generics ด้วย

Adalvo เน้นการขายผ่านพันธมิตรที่แข็งแกร่งมีความสามารถในการทำตลาดในแต่ละทวีป โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ยามะเร็ง / ยาชีววัตถุ (Biosimilar) ปัจจุบัน Adalvo มีเครือข่ายกับคู่ค้า ครอบคลุมกว่า 70 ประเทศ

จังหวะก้าวใหม่ๆ ในธุรกิจยาและสุขภาพ การทำความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทยาในยุโรป ฯลฯ นั่นกลายเป็นคำถามมาระยะหนึ่งแล้วสำหรับ ปตท. ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนภาพจำจาก คนขายน้ำมัน/บริษัทพลังงาน ไปสู่การเป็น “ปตท. หมอยา” ไปเสียแล้วหรือไม่

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ

ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) ผู้รับผิดชอบความท้าทายในด้าน Beyond ต่อจิ๊กซอว์ในแต่ละส่วนให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า การขยับออกจากเซฟโซนด้านพลังงาน ไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากนั้น โอกาสที่สำคัญคือเมื่อถึงยุคที่ผู้คนให้ความสนใจกับคุณภาพชีวิต และสุขภาพ ปตท. ก็พร้อมที่จะก้าวไปในทิศทางนั้นด้วยเช่นกัน

ที่ผ่านมาเราได้เห็น ธุรกิจใหม่ๆ บริษัทชื่อแปลกๆ ที่ ปตท.ตั้งขึ้น ไปร่วมทุน หรือซื้อกิจการมา ไม่ว่าจะเป็น Innobic ที่มุ่งเข็มไปที่การผลิตและสร้างงานวิจัยสำหรับผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค ตลอดจนผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสุขภาพ ซึ่งมีความก้าวหน้าในหลายๆ เรื่อง

มีตัวอย่างที่ชัดเจนจากโครงการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนางานวิจัย ‘โมเลกุลมณีแดง’ นวัตกรรมต้านเซลล์ชรา เพื่อต่อยอดไปยังงานวิจัยและพัฒนาด้านยา ซึ่งนั่นเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ประกาศทิศทางใหม่ของ ปตท.ที่ชัดเจน

ยังไม่รวมถึงการขยับเข้าสู่แนวทาง Mobility and Lifestyle ที่มี บริษัท OR เป็นหัวหอก  ขยายความร่วมมือและร่วมลงทุนกับแบรนด์ชั้นนำอีกมากมาย, การบุกเข้าสู่ธุรกิจ โลจิสติก อย่างจริงจัง

เช่นเดียวกับการลงทุนเพื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม  AI, Robotics, and Digitalization อย่างเต็มตัว

ทั้งหมดนั้นคือภารกิจและทิศทางแห่งอนาคตที่ ปตท. กำลังมุ่งสู่เส้นทาง Go Green Go Electric & Beyound ที่น่าจับตาอย่างยิ่ง นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก