ตอนนี้แน็ตได้รับโอกาสที่จะเป็นโค้ช แน็ตก็อยากให้น้องๆ ประสบความสำเร็จเร็วกว่าแน็ต เก่งกว่าแน็ต ไปให้ไกลกว่าเรา อันนั้นคือ Goal ของแน็ต

ณิชชาอร จินดาพล ผู้ช่วยโค้ชแบดมินตันประเภทหญิงเดี่ยว

หลังจากที่ต้องต่อสู้กับอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่มานานกว่า 2 ปี สุดท้าย “แน็ต” ณิชชาอร จินดาพล อดีตนักกีฬาแบดมินตัน ประเภทหญิงเดี่ยว มือ 10 ของโลก เลือกตัดสินใจแขวนแร็กเก็ต เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2565 ยุติเส้นทาง 22 ปี ในวงการแบดมินตัน ก่อนผันตัวมาทำหน้าที่ผู้ช่วยโค้ชภายใต้ชายคาสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ

ณิชชาอร เริ่มมีอาการบาดเจ็บมาตั้งแต่หลังแข่งรายการออลอิงแลนด์ ปี 2019 และทำการรักษามาตลอด แต่ว่าไม่หายขาดสักที จนต่อมาได้ไปตรวจด้วยเครื่อง MRI ปรากฏว่า คุณหมอทั้ง 3 คนลงความเห็นตรงกันว่าต้องผ่าตัดรักษาเท่านั้น

แน็ต ณิชชาอร จินดาพล อดีตนักกีฬาแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย
ณิชชาอร ยุติเส้นทาง 22 ปี ในวงการแบดมินตัน
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก Nitchaon Jindapol

ตอนแรกเธอไม่อยากผ่าตัดจึงเลือกทำกายภาพก่อน หลังจากนั้น 4 เดือนอาการเริ่มดีขึ้น แน็ตกลับมาตีลูกขนไก่ได้ แต่ก็ยังมีอาการบาดเจ็บรบกวนอยู่ตลอด หลังการซ้อมต้องประคบน้ำแข็งทุกครั้ง รวมทั้งไม่สามารถยกแขนขึ้นสูงๆ ได้ หรือแม้กระทั่งเวลาถอดเสื้อก็ทำได้อย่างยากลำบาก นอนตะแคงก็ยังไม่ได้ กระทบชีวิตประจำวันไปหมด

สุดท้ายแน็ตเลือกที่จะไม่ทนอีกต่อไป ยอมผ่าตัดรักษาไหล่ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และต้องใช้เวลาพักฟื้นอีกประมาณหนึ่งปีครึ่ง แต่เนื่องจากอายุที่เริ่มมากขึ้น และต้องนับหนึ่งใหม่กับการไล่ล่าอันดับโลก

เธอยอมรับว่าใจมันสู้ แต่สภาพร่างกายบอกว่าไม่ไหวแล้ว จึงทำให้แน็ตตัดสินใจอำลาชีวิตนักกีฬาแบดมินตัน และเลือกทางเดินใหม่กับการเป็นผู้ช่วยโค้ช

ณิชชาอร จินดาพล
โค้ชพี่แน็ต ณิชชาอร จินดาพล

FEED ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ณิชชาอร ที่สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ เธอเล่าชีวิตที่ผ่านมาให้เราฟังมากมาย ทั้งเรื่องราวในวัยเด็ก จุดเริ่มต้นเส้นทางนักกีฬาแบดมินตัน รวมถึงบทบาทหน้าที่ใหม่กับการเป็นผู้ช่วยโค้ชประเภทหญิงเดี่ยว และความมุ่งหวังที่อยากจะเห็นน้องๆ ประสบความสำเร็จ และไปได้ไกลกว่าตัวเธอเอง

มีความฝันอยากติดทีมชาติตั้งแต่เด็ก

ณิชชาอร : แน็ตเริ่มเล่นตั้งแต่ 8 ขวบ สาเหตุที่เล่นก็คือเป็นคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง ส่วนตัวคุณพ่อก็เล่นกีฬาแบดมินตันอยู่แล้ว เราก็เลยได้มีโอกาสเข้ามาเริ่มเล่นกีฬาชนิดนี้ จนเล่นได้สักระยะหนึ่ง คุณพ่อเขาก็รู้สึกว่ามันควรที่จะจริงจังได้นะ มันเล่นให้เป็น เล่นให้เก่งได้ เราก็ได้รับการฝึกซ้อม พออายุประมาณ 11-12 ปี ก็เริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น และเราเองก็รู้สึกว่าอยากพัฒนา อยากเก่ง อยากติดทีมชาติตั้งแต่อายุประมาณ 15 ปี จากนั้นได้มีโอกาสขึ้นมาซ้อมที่กรุงเทพฯ เราก็ย้ายถิ่นฐานจากภูเก็ตขึ้นมาอยู่กรุงเทพฯ และมาซ้อมที่ทีมบีจี สปอร์ต คลับ

ณิชชาอร จินดาพล อดีตนักกีฬาแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย
ณิชชาอร จินดาพล อดีตนักกีฬาแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย

ถ้าถามแน็ตจริงๆ คือไม่ได้ชอบกีฬาอยู่แล้ว เราไม่รู้ว่ากีฬาชนิดนี้คืออะไรมากกว่า คุณพ่อก็เหมือนจับเราไปอยู่กับกีฬาชนิดนี้ จนเราเล่น หลงใหล หลงรักความเป็นกีฬาแบดมินตัน มันก็เลยทำให้เราอยากเก่ง อยากพัฒนา

เราเห็นพี่ๆ เวลาไปแข่งพวกซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก เห็นพิธีเปิด เห็นเขาใส่ชุดเบลเซอร์ ถือธงพิธีเปิด มีธงติดอก เราอยากจะไปยืนอยู่ตรงนั้นบ้าง เราอยากมีโอกาสที่จะเป็นหนึ่งในนั้น มันก็เลยทำให้เรามีพลังและแรงขับเคลื่อน

อดีตนักกีฬาแบดมินตันหญิงเดี่ยว วัย 31 ปี เผย

ชีวิตวัยเด็กสุดแสบ และสารพัดวิธีกำราบ

ณิชชาอร : อะไรที่เขาบอกว่า “อย่า-ห้าม” ก็คือกฎมีไว้แหก แล้วก็ทำทุกอย่างเลย ถือว่าเป็นเด็กที่แก่นมาก จะเจ็บเลือดออก ร้องไห้แล้วก็จบ คือก็ยังทำอยู่ เรารู้สึกว่ามันน่าลอง มันน่าท้าทาย

เราเป็นเด็กที่ซนและแสบ ก็อุปกรณ์ทุกอย่างที่บนโลกใบนี้มีก้านมะยม ไม้แบดมินตัน หลอดลูกแบดมินตัน เข็มขัด ก็คือเป็นวิธีของบ้านแน็ตนะคะ เขาก็เลยใช้วิธีนี้กำราบเรา

ณิชชาอร เล่าชีวิตในวัยเด็ก และวิธีจัดการของที่บ้าน
ณิชชาอร จินดาพล สมัยเด็ก
ณิชชาอร ในวัยเด็ก (ขวา)
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก Nitchaon Jindapol

แน็ตไม่โหยหาเวลาส่วนตัวเลย โชคดีตรงที่เรารู้ตัวเองว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เคยมีครั้งหนึ่งจำได้ตอนอยู่ ม.ต้น ที่ภูเก็ต ทุกวันพุธโรงหนังมันจะลดราคาเหลือ 40 บาท เราก็โทรฯ ไปขอแม่ ลูกอยากไปดูหนังกับเพื่อนไปได้ไหม แม่บอกว่าเดี๋ยวลูกไปซ้อมไม่ทันนะ เดี๋ยวมันไม่ได้พัก เราก็โอเค ก็ไม่ดื้อ

ก็แค่แบบอยากไป เห็นเพื่อนไปตลอดเลย แต่เราไม่มีโอกาสได้ไป ก็เลยขอแม่ไปบ้าง แต่พอแม่เขาบอกเหตุผลมาว่าเดี๋ยวมันต้องซ้อมนะ โอเคจบ ไม่ได้โหยหาอะไร เพราะเราอยู่กับแบดมินตันมากกว่ากิจกรรมที่โรงเรียนอีก ต่อให้อายุมากขึ้น 18-19-20 ปี ก็ไม่ได้โหยหาที่จะต้องไปเที่ยวกับเพื่อนนะ เพราะเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

เส้นทางที่เลือกเดินของ 2 พี่น้อง

ณิชชาอร : คือพี่สาวหนูเป็นคนมีฝีมือ แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เขาอาจจะมีความอดทนไม่ได้มากกว่าเรา คือถ้าพี่สาวหนูยังตีอยู่ พี่สาวหนูตีดีนะ ดีกว่าหนูอีก แต่ความที่หนูเป็นเด็กพลังเยอะกว่าเขาไง ก็เลยแบบว่าระยะยาวดีกว่า แน็ตมองว่าการที่เราเล่นแบดมินตันมาถึงจุดหนึ่ง มันจะมีคำตอบให้กับตัวเองว่า เราจะไปทางไหนต่อ

คือพี่สาวก็เข้ามหาลัย เขาอาจจะมองว่าโอกาสของเขาอยู่ที่การเรียน เรียนมหาลัยที่อยากเรียน เรียนคณะที่สนใจ เขาก็เลยเลือกตัดสินใจที่จะเบากีฬา และไปด้านเรียนมากกว่า แต่ในส่วนของเรา ตอนแรกเราก็อยากจะเรียน เพราะเราได้มหาลัยเดียวกับพี่สาว แต่เหมือนคุณพ่อเขาก็ถามว่าจะตีแบดมินตันหรือจะเรียน แค่คำถามเดียวเลย

ทำให้เราฉุกคิดว่าก่อนที่เราจะขึ้นมากรุงเทพฯ เราเป็นคนบอกพ่อเองว่าเราอยากติดทีมชาติ มันก็ควรจะไปให้สุด ก็เลยเลือกตีแบดมินตัน ก็เลยมาเรียนมหาลัยเอกชนที่เขาซัพพอร์ตเรา ส่งเสริมเราในด้านแบดมินตัน เส้นทางก็เลยแตกต่างกันจากพี่สาว แต่เคยได้คุยกับพี่สาว เขาบอกว่ามันก็เป็นโอกาสที่ดี ณ ตอนนั้น ทำไมเขาไม่เลือกกีฬา

ณิชชาอร จินดาพล กับพี่สาว
พี่สาวณิชชาอรเลือกทางเดินอาชีพแอร์โฮสเตส
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก Nitchaon Jindapol

อาการเจ็บไหล่ กระทบชีวิตประจำวัน

ณิชชาอร : ตอนที่เราแข่งแมตช์สุดท้ายคือออลอิงแลนด์เริ่มเจ็บนิดนึง กลับมารักษา ก็ยังไม่หาย จนผ่านไปเกือบปีได้ไปตรวจ MRI คุณหมอบอกว่าต้องผ่า ไม่ใช่คุณหมอคนเดียวนะคะ หมอ 3 คนบอกว่าต้องผ่า แล้วเราจะเป็นยังไงกับชีวิตนี้ต่อ เพราะการผ่ามันเป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าผ่าแล้วจะเป็นยังไง ถ้าไม่ผ่าแล้วจะเป็นยังไง

ได้คุยกับคุณหมอ วางแผนกันว่าถ้าไม่ผ่าจะทำยังไงได้บ้าง หมอบอกว่ามีกายภาพ และฉีดสเตียรอยด์ที่เป็นการแพทย์ถูกกฎระเบียบ หรือผ่าตัด โอเคงั้นแน็ตขอกายภาพก่อนแล้วกัน เราอยากรู้ว่าถ้าเรากายภาพมันจะเป็นยังไง มันอาจจะดีกว่าผ่าก็ได้ ก็เลยทำกายภาพ ผ่านไป 4 เดือนดีขึ้น ตีได้ แต่ก็ต้องมานั่งประคบน้ำแข็งทุกวันหลังซ้อม แล้วมันกระทบชีวิตประจำวันคือ นอนตะแคงไม่ได้ ถ้าซ้อมหนักๆ ยกแขนแบบสุดๆ ก็ไม่ได้ ถอดเสื้อก็ไม่ได้เลย ต้องก้มถอด ขับรถก็ไม่ได้ ต้องเอาหมอนมารอง มันเป็นอะไรที่หนัก จนไม่ไหว

ณิชชาอร ย้อนความทรงจำก่อนผ่าตัดรักษาที่หัวไหล่

ก็เลยโทรฯ ไปหาคุณหมอว่าโอเคแน็ตตัดสินใจแล้วขอผ่าตัด แต่ก่อนจะผ่าก็คิดว่าถ้าไม่ผ่า 1.กระทบกับชีวิตประจำวันไปเรื่อยๆ 2. เลิกแน่นอน ทำอะไรต่อไม่ได้ ตีแบดมินตันไม่ได้แล้ว ตีได้แบบเปาะแปะอะไรอย่างนี้

ณิชชาอร จินดาพล ผ่าตัดหัวไหล่
ณิชชาอร ผ่าตัดหัวไหล่
ภาพจาก : เฟซบุ๊ก Nitchaon Jindapol

แต่ถ้าผ่า 1.คุณอาจจะได้ไปต่อนะ 2.ถึงจะไม่ได้ไปต่อเป็นนักกีฬาทีมชาติ แต่ก็ยังได้เล่นกีฬาที่เรารัก ก็เลยผ่าดีกว่า อย่างน้อยมันก็ยังได้ตี ไม่รู้มันจะตีอะไร แต่ก็ได้ตี ยังอยู่กับมัน ก็เลยผ่า ซึ่งหมอก็แพลนไว้ว่า 5 เดือนเริ่มตีได้ 8 เดือนเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ปีครึ่ง 100 เปอร์เซ็นต์ เริ่มแข่งได้

เราก็มานั่งคำนวณอายุ ผ่าตอน 30 กลับมาตีได้ 31 เกือบ 32 แล้วอันดับแรงกิ้ง หล่นไปเท่าไร พร้อมไหมที่จะล่าแรงกิ้งกลับมา พร้อมไหมที่จะเหนื่อยคูณสอง ใจอะได้ แต่ร่างกายสังขารมันก็ไม่เที่ยง ก็เลยขอปลดระวางตัวเองดีกว่า มันไม่ได้จริงๆ ไม่อยากฝืน ใจเราได้ แต่ร่างกายไม่ได้จริงๆ

ณิชชาอร เผยเหตุผลที่ต้องแขวนแร็กเก็ต

แต่ทางสมาคมฯ เขาก็เริ่มมาคุยล่ะ เพราะเขาก็ดูการรักษาเราเหมือนกัน เขาก็มาถามว่าถ้าอยากเป็นโค้ช เขายินดีมากๆ เพราะมันยังขาดโค้ชอยู่ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมฯ ก็ได้มาคุยกับเรา แน็ตต้องขอบคุณคุณหญิง ขอบคุณสมาคมฯ มากที่เขาเห็นศักยภาพในตัวเรา ก็เลยเป็นโอกาสที่ดี ได้เปิดทางใหม่กับหน้าที่ใหม่ตรงนี้

โค้ชพี่แน็ตยอมรับเป็นคนดุ ซ้อมคือซ้อม เล่นคือเล่น

ณิชชาอร : ตอนนี้แน็ตเป็นผู้ช่วยโค้ชหญิงเดี่ยว มีโค้ชคิม จี ฮุน เป็นคนเกาหลีมาเป็นเฮดโค้ช เราก็จะช่วยซัพพอร์ตเขา แล้วก็ช่วยเหมือนเป็นล่ามให้น้องๆ อีกทีหนึ่ง คือจริงๆ ภาษาอังกฤษแน็ตก็ไม่ได้ดีมาก แต่เหมือนอาจจะมีประสบการณ์ แชร์ให้น้องฟัง ช่วยซัพพอร์ตเขาอีกแรงหนึ่ง

ณิชชาอร กับ โค้ชคิม จี ฮุน ชาวเกาหลี
ณิชชาอร กับ โค้ชคิม จี ฮุน ชาวเกาหลี

แน็ตได้ซ้อมกับน้องๆ อยู่แล้ว ก่อนที่แน็ตจะเลิก แน็ตก็รู้อยู่แล้วว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร มีจุดบกพร่องอะไร เพิ่มเติมอะไร คือเราได้คลุกคลีกับน้องอยู่แล้ว มันก็เลยไม่ค่อยยากมาก เวลาสอนกัน หรือว่าแชร์อะไรกัน เราจะมีความเป็นแก๊งพี่สาว-น้องสาวกันอยู่แล้ว มันก็เลยทำงานกันง่ายกับน้องๆ น้องก็เชื่อฟังเรา เราให้เกียรติน้อง น้องก็ให้เกียรติพี่แน็ตกับการทำงาน มันก็เลยไปในทิศทางเดียวกันได้โอเค

ตอนนี้แน็ตได้รับโอกาสที่จะเป็นโค้ช แน็ตก็อยากให้น้องๆ ประสบความสำเร็จเร็วกว่าแน็ต เก่งกว่าแน็ต โอเคเรามีประสบการณ์ เราประสบความสำเร็จแต่เมื่อเราได้มาถ่ายทอดให้น้อง เราก็อยากให้น้องเร็วกว่าเรา เก่งกว่าเรา ไปให้ได้ไกลกว่าเรา อันนั้นคือ Goal ของแน็ต

คือแน็ตเป็นคนชัดเจน ซ้อมคือซ้อม เล่นคือเล่น ไม่ได้อยู่ในสนามแบดฯ ก็คือชิลล์ พี่น้อง ถ้าซ้อมคือ 100 เปอร์เซ็นต์นะ พี่ 100 เปอร์เซ็นต์นะ หนูต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ด้วยนะ ถ้าหนูไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ เชิญ

โค้ชพี่แน็ต พูดถึงสไตล์การทำงานของตัวเอง

คือน้องจะรู้ว่าหนูจริงจัง ชิลล์ เล่น พักผ่อน และเรื่องส่วนตัวหนูจะไม่ยุ่งน้อง แต่ถ้ามีอะไรปรึกษาคุยกันได้ หนูจะเป็นแบบนี้ จะให้ space เต็มที่ พักก็คือพัก หนูยังบอกน้องเลยว่าวันไหนพัก ไม่ต้องอยู่แต่ในสนามสีเขียวนะ หนูออกไปคาเฟ่ ไปหาอะไรกิน ไปดูหนัง ไปทำอย่างอื่นบ้าง ให้สมองมันได้ relax บ้าง แล้วพออีกวันหนึ่งก็มาซ้อมกันใหม่

ข้อเปรียบเทียบความสำเร็จระหว่างสมาคมฯ กับสโมสร

ณิชชาอร : ภาพข้างนอกเขามองว่า ภาพรวมตรงนี้ไม่โอเค แต่ภาพรวมตรงนี้โอเค เพราะว่าจำนวนคนมันหลายคน หลายประเภท ซึ่งเขาก็มองภาพรวมใหญ่ๆ ไว้ก่อน แต่แน็ตอยากจะบอกว่าจริงๆ สมาคมฯ หรือสโมสรอื่นเขาก็มีประเภทอื่นที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้เป็นส่วนทั้งหมด เช่น ผลงานอันนี้น้อยกว่า อันนั้นดีกว่า เหมือนมองภาพตรงนี้ คือเด็กทุกคนมีศักยภาพอยู่แล้ว

บาส-เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ ปอป้อ-ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย
บาส-เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ ปอป้อ-ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย
ภาพจาก : Badminton Photo

SCG เราเห็นผลงานชัดเจน เรายอมรับ บาส-เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ ปอป้อ-ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย อันนี้คือของจริง ส่วนประเภทอื่นเขาก็กำลังมาเหมือนกัน อาจจะยังไม่ได้ดี แต่ก็กำลังมา

สมาคมฯ เราก็มี แต่ว่ามันอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่าย เช่น หญิงเดี่ยว ส่วนชายคู่กับคู่ผสมเราก็กำลังมา บางอย่างมันอยู่ที่เปลี่ยนถ่ายของตัวนักกีฬาจากรุ่นสู่รุ่น มันก็ต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตบุคลากรขึ้นมา

ณิชชาอร แสดงความคิดเห็นเรื่องความสำเร็จของนักกีฬา ระหว่างสมาคมฯ กับสโมสร

จิตใจ และ mindset องค์ประกอบสำคัญของนักกีฬา

ณิชชาอร : แน็ตอยากให้น้องๆ ทุกคนมีจิตใจที่แข็งแรง มี mindset ที่ดี ถ้าเขาเริ่มต้นจากตรงนี้ได้ในการฝึกซ้อม เช่นเวลาเหนื่อย เขาก็ยังข้ามมันไปได้ หรือไปแข่งแล้วต้องเจอสถานการณ์ที่มันบีบ เขาก็ยังข้ามไปได้ เพราะเขามีสุขภาพจิตใจที่แข็งแรง และมี mindset ที่ดี

แน็ตมองว่าถ้าตรงนี้เขาแข็งแรง ทุกคนสามารถขึ้นไปถึงระดับท็อปได้ ตอนนี้เหตุผลที่เด็กยังขึ้นไปไม่ได้ เพราะว่ามันอยู่ที่ mindset และ จิตใจ แน็ตก็กำลังลงมือทำ อยู่ในกระบวนการให้น้องๆ มี mindset และ จิตใจที่แข็งแรง เริ่มจากตรงนี้ก่อน หนูว่ายังไงน้องทุกคนไปไกลได้แน่นอน

ณิชชาอร กับน้องๆ ในแคมป์ทีมชาติ
ณิชชาอร กับน้องๆ ในแคมป์ทีมชาติ

ขอบคุณสมาคมกีฬาแบดมินตันฯ ขอบคุณคุณหญิงปัทมา ขอบคุณสปอนเซอร์ ขอบคุณครอบครัว ขอบคุณพี่ๆ นักข่าว ขอบคุณโค้ช ขอบคุณเพื่อนร่วมงาน ขอบคุณแฟนคลับคนไทยที่เป็นกำลังใจให้ ขอบคุณที่เขาติดตามเรา แล้วก็ซัพพอร์ตเรา เพราะถ้าวันนี้ไม่มีพวกเขา แน็ตก็ไม่ได้มายืนถึงจุดนี้เหมือนกันนะ

แน็ตก็จะทำหน้าที่ตรงนี้ให้มันดีที่สุด อยากจะแชร์ประสบการณ์ให้น้องฟัง อยากจะให้น้องไปไกลกว่าเรา เร็วกว่าเรา และมีคุณภาพมากกว่าเรา อันนี้คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายของแน็ต

ณิชชาอร จินดาพล กล่าวทิ้งท้าย

เด็กฝั่งธนฯ ที่บ้านเลี้ยงแมว 2 ตัว เชียร์ทีมชาติไทย ชอบสะสมหุ่นจำลอง แต่ยังไม่ได้แกะออกมาจากกล่องสักที!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก