วายบูม! อาจารย์ม.ดัง ยกไทยผลิตซีรีส์วาย ‘อันดับหนึ่ง’ พร้อมพัฒนาโมเดลใหม่ๆ มากขึ้น ด้านผอ.แพลตฟอร์มดัง ‘อ้ายฉีอี้’ ชี้ตอนนี้ยังไม่มีเพดาน ซีรีส์และนักแสดงไปได้อีกไกลมาก

“FEED” ผู้นำคอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ในเครือมติชน จัดงาน FEED Y AWARDS 2024 “SOFT POWER UNLIMITED”

ยกทัพนักแสดงและศิลปินชื่อดังมากกว่า 100 ชีวิต ทั้งซีรีส์ Boy Love-Girl Love และวงการเพลง T-POP มอบทั้งความสุขและความมันส์ให้บรรดาแฟนคลับ กับฟรีคอนเสิร์ตยาวถึง 12 ชั่วโมงเต็ม ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น.

บรรยากาศที่สยามพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน เป็นไปอย่างคึกคัก มีแฟนคลับจำนวนมากที่มารอพบศิลปินและนักแสดงที่ตนเองชื่นชอบ พร้อมจับจองพื้นที่บริเวณหน้าฮอลล์ ก่อนที่ประตูฮอลล์จะเปิดให้เข้าในเวลา 10.00 น.

โดยไฮไลต์ภายในงานวันนี้ นอกจากจะมีนักแสดงซีรีส์ Boy Love-Girl Love และวงการเพลง T-POP แล้ว ยังมีศิลปินสาวขวัญใจมหาชนอย่าง “น้องหมีเนย Butterbear” ที่จะมามอบความสุขให้กับแฟน ๆ ด้วยการเปิดเวทีในเวลา 12.00 น.

เวลา 13.30 น. เริ่มเวทีเสวนาเวลา Talk Session หัวข้อ ความท้าทายของซีรีส์ Boys’ Love – Girls’ Love ซอฟต์พาวเวอร์ ไทยบนเวทีนานาชาติ นำโดย รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นายผ่านศึก ธงรบ ผู้อำนวยการอ้ายฉีอี้ ประจำประเทศไทย (iQIYI Thailand) พร้อมด้วย นายภูมิพัฒน์ เอี่ยมสำอาง หรือ อัพ และนายภูริพันธ์ ทรัพย์แสงสวัส หรือ ภูมิ นักแสดงซีรีส์ “MY STAND-IN ตัวนาย ตัวแทน”

ในตอนหนึ่ง รศ.ดร.นัทธนัย กล่าวว่า ตนมีความสนใจมาตั้งแต่ทำงานวิจัยเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ 2,000 ตอนปลาย เริ่มจากการศึกษาแฟนฟิค ความสัมพันธ์ของแฟนคลับ กับ K-pop จนกระทั่งวายบูมเกิดขึ้นหลังปี 2557 พอหลังกลับจากเรียนปริญญาเอก ก็มาทำเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอย่างจริงจังมาจนถึงปัจจุบัน

รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์
และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“ในช่วงปีที่ผ่านมาจะมีการข้ามงานหลายประเภท หรือ การผสมประเภทมากขึ้น อย่างแรกที่เราต้องเข้าใจก่อน คือ วาย เรียนจบมหาลัยแล้ว (หัวเราะ) จะมีเรื่องราวของความรักวัยออฟฟิศ หรือ จะมีการผสมประเภท เช่น ทริลเลอร์ แฟนตาซี พีเรียด(แนวย้อนยุค) เรียกได้ว่า ตอนนี้มีหลากหลายแบบมากขึ้น

ส่วนในด้านอุตสาหกรรม เราจะเห็นแนวโน้มการทำงานแบบ Co-Production ร่วมงานกับแพลตฟอร์มข้ามชาติ เพราะสมัยก่อนจะเห็นว่าซีรีส์วายจะดัดแปลงมาจากนิยายวายไทย แต่ว่าเราก็มีนิยายวายจีนมาเป็นซีรีส์แล้ว เช่น เรื่อง MY STAND-IN ตัวนาย ตัวแทน โดยมีการเอาวัตถุดิบที่เป็นวัฒนธรรมจากต่างชาติมาทำ ซึ่งมันก็เป็นแนวโน้มใหม่ๆสำหรับวายไทย ส่วนซีรีส์แนว Girl Love (GL) ก็มีการนำเสอโดยช่องหลักอย่างช่อง 3 ที่เริ่มทำแนว GL เป็นของตัวเอง” รศ.ดร.นัทธนัยชี้

รศ.ดร.นัทธนัย กล่าวว่า เมื่อก่อนเราจะเห็นโมเดลการจัดงานแฟนมีตหลังจากฉายซีรีส์ไปแล้ว ร่วมดูตอนจบด้วยกัน ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะจัดอีเวนต์แบบนี้ แต่ตอนนี้จัดแฟนมีตทั้งก่อนและหลังฉาย มันก็จะเป็นโมเดลใหม่ที่เราจะได้เห็นมากขึ้น

เมื่อถามว่าศักยภาพของอุตสาหกรรม Boy love/ Girl love จะเติบโตไปในแนวทางอย่างไรได้บ้าง

รศ.ดร.นัทธนัย กล่าวว่า ในแง่อุตสาหกรรมเราผลิตซีรีส์ออกมามากที่สุดในโลก เราคืออันหนึ่งในแง่ของจำนวน แต่ในส่วนของคุณภาพแล้วนั้น เรามีโมเดลใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างที่ยกตัวอย่างไป คือ การดัดแปลงข้ามชาติ แต่มันจะมีงานอีกประเภทหนึ่งที่เราเรียกว่า หนังสั้น ที่เอาเนื้อเกี่ยวกับวายไปใช้ในเทศกาลหนังสั้น ฉะนั้นงานเหล่านี้ก็จะเป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่จะเติบโตต่อไปได้อีก

“อีกประเด็นหนึ่งที่น่าคิด คือ การแข่งขัน เพราะในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นที่เป็นต้นกำเนิดของ BL ซึ่งงานที่อยู่ในกระแสหลักจะเป็นรูปแบบเนื้อหามังงะ หรือ การ์ตูนมากกว่า แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาช่องอย่าง MBS เขาไปเซ็นสัญญา Drama Shower แล้วก็ดัดแปลงมังงะวาย เป็นซีรีส์แบบ Live action ตลอดทั้งปี

สิ่งหนึ่งที่คิดว่าแปลกมาก คือ ญี่ปุ่นไม่เคยจัดงานแฟนมีต เพราะดาราญี่ปุ่นเขาจะแยกขาดจากวิถีชีวิตจริง เราไม่สามารถจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ร้านสะดวกซื้อ แล้วเจอดาราญี่ปุ่นได้ แต่ดาราไทยเราเจอเขาเดินตามตลาดนัด หรือ ไลฟ์อินสตาร์แกรม (Instagram) ตอน 3 ทุ่มของวันเสาร์ แต่ดาราญี่ปุ่นเขาไม่ทำ

แต่ปัจจุบันหลังจากเขาทำ Drama Shower สิ่งที่เขาได้รับอิทธิพลจากของไทยเลย คือ การทำแฟนมีต เช่น ซีรีส์เรื่อง my personal weatherman ก็มีการทำแฟนมีตในญุี่ปุ่นเอง หรือ มาเก๊า ซึ่งการเจาะตลาดผ่านการจัดงานแฟนมีตที่เกิดขึ้นในเอเชีย ผมคิดว่าคนที่บุกเบิกให้เกิดขึ้นก่อน คือ ไทย ฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องจับตา เราเริ่มจะเห็นโมเดลที่มาแข่งกับเรา โดยใช้โมเดลของเรานะ ซึ่งเราก็ต้องไปพัฒนาการขายให้ดีขึ้น” รศ.ดร.นัทธนัยชี้

เมื่อถามว่าพอเราในอุตสาหกรรมนี้มาจนถึงตอนนี้ เกิดคำถามที่ว่าตอนนี้มันตันแล้วหรือยัง?

รศ.ดร.นัทธนัย กล่าวว่า ปีนี้มันเป็นปีสำคัญที่ครบรอบ 10 ปี Lovesick The Series หลังเกิดวายบูมตั้งแต่ปี 2557 ขึ้นมา เราจะเห็นว่าตอนนี้มันเปลี่ยนไปเยอะ มันมีลูกเล่นใหม่ๆที่มันเกิดขึ้น

“สำหรับผมไม่เชื่อว่ามันตัน เพราะถ้าพูดแบบตรรกะของทุนนิยม คือ ในโลกที่ยิ่งมีการแข่งขันสูง เราก็จะเห็นว่าคุณภาพของโปรดักชั่น บท หรือตัวนักแสดงที่เขาไปฝึกฝนกันมา มันจะมามากขึ้น

อีกอย่างหนึ่งที่เป็นจุดแข็งของเราเลย คือ ประเทศเราเปิดแล้ว จริงๆที่ผ่านมาก็ไม่ถึงกับปิดมาตลอด แต่ตอนนี้เรามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าตรงนี้คือโอกาสที่ทำให้ซีรีส์วายของเรา ยังไม่มีเพดานตรงนี้” รศ.ดร.นัทธนัยเผย

เมื่อถามว่าตอนนี้กระแสหนังไทยมาแรง ไม่ว่าจะเป็นวิมานหนาม หรือ หลานม่า ได้สร้างคุณค่าอะไรใหม่ๆกับอุตสาหกรรมไทยบ้าง

รศ.ดร.นัทธนัยกล่าวว่า หนึ่งในประเด็นที่วงการวิชาการสนใจ คือ แรงงานสร้างสรรค์ (creative labor) ซึ่งหมายถึงคนที่อยู่ในแวดวงโปรดักชั่น เพราะปกติถ้าเราดูผลงาน เราจะเห็นแต่คนที่อยู่เบื้องหน้า แต่ว่าการปรากฏของคนเบื้องหน้า มันมีกลไกการทำงานของคนที่อยู่ข้างหลังอีกมาก

“หลานม่า และ วิมานหนาม ในด้านของนักแสดงไม่ว่าจะเป็น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล (บิวกิ้น) หรือ วรกมล ชาเตอร์ (เจฟ) เป็นคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมวายมาก่อน หรือ อาจจะยังไม่ได้ออกจากอุตสาหกรรมวายด้วยซ้ำ

กรณี บิวกิ้น ตัวเขาเองมีชื่อเสียงในโลกของคนที่พูดภาษาจีน จากแปลรักฉันด้วยใจเธอ หรือ เจฟ มีชื่อเสียงจากเรื่องคินน์พอร์ช เดอะซีรีส์ ที่ดังในลาตินอเมริกา เพราะฉะนั้นถือว่าเป็นพลังดาราที่มีส่วนในความสำเร็จด้วย” รศ.ดร.นัทธนัยกล่าว

รศ.ดร.นัทธนัยกล่าวอีกว่า ตนชวนดูประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น หนังเรื่องหลานม่า ที่ดังในเอเชียเพราะว่าแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาการล่มสลายของครอบครัวขยาย

“หลานม่า แสดงให้เห็นว่า ปกติแล้วครอบครัวเอเชียจะมีหลายเจนเนอเนชั่นอยู่ด้วยกันในบ้าน แล้วหลานม่าแสดงให้เห็นว่าสภาพ หรือ โครงสร้างดังกล่าว มันถูกเซาะกร่อนด้วยเวลาอย่างไร ฉะนั้นทุกคนที่มีอาม่าก็จะเห็นเลนส์ของการหายไปของสังคมแบบนั้น

ส่วนวิมานหนามที่ผมมองว่าดีมาก คือ เวลามีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ มันมีข้อวิพากษ์ว่า มันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมผิวขาว หรือ แองโกลอเมริกา หรือเปล่า แต่วิมานหนามเป็นพื้นที่ให้เกิดการถกเถียงว่า ความไม่เท่าเทียมทางเพศในบริบทสังคมเอเชีย มันยังเกาะเกี่ยวกับเรื่องชาติพันธุ์ ชนชั้นอย่างไร ซึ่งอันนี้มันทำให้งานมันซับซ้อนและน่าสนใจ และนำไปสู่ข้อถกเถียงที่มากขึ้น” รศ.ดร.นัทธนัย

ผ่านศึก ผอ.อ้ายฉีอี้ ประเทศไทย
ผ่านศึก ผอ.อ้ายฉีอี้ ประเทศไทย

ด้าน นายผ่านศึก ผอ.อ้ายฉีอี้ ประเทศไทย กล่าวว่า เราเริ่มมีซีรีส์วายเรื่องแรกตั้งแต่ปี 2020 เข้ามาทำงานยังตลาดในประเทศไทย ปัจจุบันซีรีส์ไทยอาจจะไม่อาจจะยังไม่ได้เก็บหมดทั้งตลาดขนาดนั้น แต่เราเขื่อว่าซีรีส์วายที่ดีทุกเรื่องมาอยู่บนแพลตฟอร์มเราอยู่แล้ว

“ถือว่าเป็นหนึ่งในความภูมิใจของเรา โดยมีแฟนๆเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เราสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และเติบโตอย่างแข็งแรงมากขึ้น บางส่งเข้ามาด้วยซ้ำว่า อยากดูเรื่องนี้ๆในอ้ายฉีอี้จัง มันก็เป็นหนึ่งในฟีดแบ๊กที่ทำให้เรามีวันนี้ได้ ซึ่งซีรีส์เรื่อง MY STAND-IN ตัวนาย ตัวแทน ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ยกระดับคุณภาพและฐานแฟนคนดูของเราให้โตมากยิ่งขึ้น” นายผ่านศึกเผย

นายผ่านศึกกล่าวว่า เกณฑ์การคัดเลือกเนื้อหาเข้ามาลงในแพลตฟอร์ม ตนมองว่า ‘คุณภาพ’ เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งในแง่ของการเล่าเรื่องและการแสดง แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่อ้ายฉีอี้ไม่เคยทิ้งเลย คือ การติบโจทย์ตลาด ฟอร์มในแต่ละเรื่องต้องมีความน่าสนใจ ดึงดูด ตอบโจทย์ผู้ชมด้วย

“เรายึดมั่นการตอบโจทย์แฟนๆ ตอบโจทย์ตลาด และไม่ใช่การตอบโจทย์ตลาดไทยเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่เป็นการตอบโจทย์ตลาดแฟนทั่วโลกด้วยเช่นกัน” นายผ่านศึกเผย

เมื่อถามว่าซีรีส์ Boy love/ Girl love ของบ้านเรา สามารถจะเป็นซอตฟ์พาวเวอร์ได้อย่างไรบ้าง

นายผ่านศึกกล่าวว่า ตามจริงแล้ว ตนยังไม่เห็นเพดานอะไรในเรื่องนี้เลย ถ้าถามว่าซีรีส์วายไทยมันจะไปได้แบบซีรีส์เกาหลีไหม ตนรู้สึกว่าตอนนี้เราไม่ได้เดินตามทางของเกาหลีด้วยซ้ำ แต่เราเดินตามแนวทางของเรา ซึ่งแนวทางของเรามีความน่าสนใจและมีความแข็งแรงไปไม่น้อยไปกว่ากัน

“ตอนนี้แพลตฟอร์มของซีรีส์ไทยมันประกอบไปด้วยการจัดงาน จัดอีเวนต์ต่างๆ ซึ่งมันเป็นกลุ่มก้อนเอนเตอร์เทนเมนต์ที่แข็งแรงมาก และอีกหนึ่งสิ่งที่เราเผยแพร่ออกไป คือ ภาษา อย่างสมมุติว่าเมื่อก่อนเราดูซีรีส์ต่างประเทศ เราก็จะคุ้นกับภาษาและวัฒนธรรม เช่น ยุคหนึ่งเราผ่านช่วงการรอพากย์เสียงซีรีส์เกาหลีไม่ทัน คนก็ไปดูซีรีส์ที่มีซับไตเติ้ลมากขึ้น คนก็อาจจะคุ้นภาษาเกาหลีมากขึ้น

ตอนนี้ซีรีส์วายไทย มีอัตราการพากย์ทับน้อยมาก แสดงว่าคนดูทั่วโลกในปัจจุบันต้องดูผ่านภาษาไทย เวลาเราดูผ่านภาษาไทย มันจะเกิดการคุ้นชินทางภาษาและวัฒนธรรม การใช้ชีวิต การใส่ชุดนักเรียน การไปโรงเรียน การทานอาหาร พวกนี้มันถูกถ่ายทอดออกมาหมดเลย ซึ่งมันคือซอฟต์พาวเวอร์ที่แนบเนียนมาก” นายผ่านศึกเผย

นายผ่านศึกกล่าวว่า องค์ประกอบเหล่านี้มันทำให้คนอยากมาเที่ยวประเทศไทยเพื่อมาเจอคนเหล่านี้ แล้วมาทำกิจกรรมร่วมกัน หรือแม้กระทั่งนักแสดงก็พาภาษาและวัฒนธรรมไทย ไปถึงต่างประเทศด้วยเช่นกัน ตนยังไม่เห็นเพดานของสิ่งนี้เลย ยังไม่ได้รู้สึกว่า เรากำลังเดินตามทางที่มันมีข้อจำกัดอะไรต่างๆ เลย

“ตอนนี้อุตสาหกรรมมันยังไม่ตันแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องบทซีรีส์มีหลากหลายขึ้น จากเดิมที่เราดูนักแสดงชาย-หญิง มาหลาย 10 ปี แต่ตอนนี้เราได้ดูนักแสดงที่เป็นชาย-ชาย หรือ หญิง-หญิง บ้าง มึนได้รสใหม่ๆ หรือ อะไรใหม่ๆในการรับชมได้เสมอ รวมถึงโปรดักชั่นและนักแสดง มันสามารถไปไกลได้อีกมาก” นายผ่านศึกกล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก