อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญ ที่ “หม่อมน้อย” หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวที ที่มีผลงานและลูกศิษย์มากมาย เสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อเวลา 22.20 น. วันที่ 15 กันยายน 2565 ด้วยโรคมะเร็งปอด หลังจากเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน

SIX CHARACTERS มายาพิศวง
ผลงานชิ้นสุดท้ายของ “หม่อมน้อย” ที่เข้าฉายวันเดียวกับวันจากไป

วันเดียวกับที่ ภาพยนตร์ SIX CHARACTERS มายาพิศวง ผลงานชิ้นสุดท้าย มีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ เป็นวันแรก โดยที่ก่อนหน้านั้น “หม่อมน้อย” ให้สัมภาษณ์เล่าถึงเหตุผลถึงที่มาของการเลือกเรื่อง “มายาพิศวง” มาสร้าง

“ถ้าคนไทยดูแล้วเข้าใจ คุณก็จะมีพุทธิปัญญาเกิดขึ้น คุณจะเข้าใจตัวคุณเอง คุณจะเข้าใจคนรอบข้าง คุณจะมีชีวิตที่มีความสุข มันจะไม่เหมือนตัวละครในเรื่องนี้ ทั้ง 6 ตัว ที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน เพราะว่าก็ยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตัวเอง แล้วก็ความมหัศจรรย์ของ Pirandello (Luigi Pirandello ผู้ประพันธ์เรื่อง Six Characters in Search of an Author) ก็คือว่า มันไม่ใช่คนมีปัญญาเท่านั้นที่จะดูเรื่องนี้สนุก ไม่มีความรู้ดูก็สนุกได้”

"หม่อมน้อย" หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
ภาพ Major Group

และระบุว่า “เราถึงตัดสินใจทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งคิดว่าจะเป็นเรื่องสุดท้ายในชีวิตเสีย ด้วยซ้ำไป”

จากคำบอกเล่าของ “หม่อมน้อย” ผลงานเรื่องนี้ใช้เวลาเดินทางมาอย่างยาวนาน ซ้อมนาน 10 เดือนก่อนจะเปิดกล้อง เปิดกล้องแล้วฝ่ายทีมงานก็มาเตรียมตัวกันปีหนึ่งเต็มๆ และก็สะท้อนความเข้มข้นในการทำงานแบบ “หม่อมน้อย” ที่ว่า คนที่ซ้อมถึงและเหมาะเท่านั้นที่จะได้เล่น

ภาพ Major Group

“ทุกคนตั้งใจทำกันมาก เพราะว่ามันเข้าใจยาก มันต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกับมัน ด้วยความยากเนี่ย มันต้องมีการ Pre Production เยอะ การซ้อมกับนักแสดงเยอะ แต่ว่าเราก็มีกฎเกณฑ์ว่า ถ้าไม่ซ้อมก็ไม่ต้องเล่น เราไม่ได้คิดว่าใครเป็นใคร คือคนที่เหมาะเท่านั้นถึงจะได้เล่น”

ตลอดเส้นทางการทำงาน นับตั้งแต่การกำกับละครเวที จนมามีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ในปี 2527 จากนั้นก็มี ผลงานต่อเนื่องทั้งการกำกับภาพยนตร์และละคร หลายเรื่องได้รับคำชื่นชม แต่บางครั้งก็มีเสียงสะท้อนเรื่องของการเข้าถึงได้ยาก

เช่น ตอนกำกับละคร “ซอยปรารถนา 2500” ออกอากาศทางช่อง 7 ในปี 2541 เสียงส่วนใหญ่ชื่นชมเรื่องโปรดักชั่น และภาพที่ยอดเยี่ยม แต่ในเรื่องเนื้อหา ถูกวิจารณ์ว่าเครียดเกินไป ไม่เหมาะกับภาวะสังคมที่เครียดอยู่แล้วจากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เหมาะกับกลุ่มคนดูช่อง 7

ครั้งนั้น “หม่อมน้อย” ออกมาโต้เสียงวิจารณ์แบบทันควันว่า “อย่าพูดคำนี้ เพราะถ้าพูดเท่ากับเราดูถูกผู้ชม ดูถูกช่อง 7”

“ทาร์เก็ตช่อง 7 คืออะไร อย่าไปดูถูกว่าคนดูไม่มีการศึกษา เป็นเพราะว่าช่อง 7 ที่ผ่านมาไม่ได้เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้เขามากกว่า”

“วันนี้คนดูรู้แล้วว่าภาพสวยคืออะไร ยุคนี้ดูถูกคนดูไม่ได้ กล่าวหาคนดูทั่วประเทศไม่ได้ แล้วถ้าพูดจะทำให้ผู้จัดช่อง 7 เขาเฮิร์ต เหมือนกับว่างานเขาเลว”

พร้อมยืนยันว่า สิ่งที่ตนเองให้ฐานะผู้ปรุงต้องทำคือทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อเสิร์ฟให้กับผู้ชม ขอให้มีกลุ่มหนึ่งชอบ และเพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีให้กับวงการแสดงอันเป็นที่รัก

“เราคนทำก็พยายามปรุงให้ดีที่สุด อาจจะแปลกหน่อย แต่มันก็กินได้เหมือนกัน ส่วนจะชอบหรือไม่ชอบค่อยว่ากัน”

“ผมคิดว่าความรับผิดชอบของผมคือทำสิ่งที่ดีที่สุด แต่ความปรารถนาแล้วแต่เขา ยิ่งทีวีกว้างกว่าภาพยนตร์ ถ้าคนดูไม่พอใจเรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปดูเรื่องใหม่ก็ได้ ผมคิดว่าถ้าสถานีพอใจผลงาน แล้วมีคนดุกลุ่มหนึ่งก็พอใจแล้ว”

บทสัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ มติชน 20 กรกฎาคม 2541

เช่นเดียวกับตอนที่ได้กำกับ ภาพยนตร์เรื่อง “ชั่วฟ้าดินสลาย” ในปี 2553 ที่เวลานั้นผู้กำกับชั้นนำ อย่าง “ท่านมุ้ย” หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล และ เป็นเอก รัตนเรือง ก็สนใจอยู่ แต่เป็น “หม่อมน้อย” ที่ได้มารับหน้าที่กำกับ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า ไม่ปฏิเสธเมื่อได้รับการติดต่อให้ทำ เพราะตรงกับความตั้งใจที่ว่า

“จะดูที่เนื้อหาของเรื่อง ถ้ามีประโยชน์ต่อสังคม ศีลธรรม ศิลปวัฒนธรรม เราถึงจะทำ ไม่งั้นทำไปก็เหนื่อยเปล่า คนดูไม่ได้อะไรที่เป็นประโยชน์”

“นอกจากความบันเทิงแล้ว จะต้องมีเนื้อหาสาระข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อคนดูถึงจะทำเหนื่อยก็ยอม”

“(รางวัล หรือเสียงชื่นชมในผลงาน) เรื่องเหล่านั้นไม่ใช่ประเด็นแล้ว แต่อยากทำให้ดีอยากสื่อสารให้คนมีมุมมองที่กว้างขึ้น”

บทสัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ มติชน 27 เมษายน 2553

อีกหนึ่งมาตรฐานของ “หม่อมน้อย” ที่เจ้าตัวประกาศยึดมั่นมาตลอดนับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันที่พูดถึงผลงานชิ้นสุดท้ายคือ เลือกคนที่เหมาะกับบท ถ้าไม่ดีก็ไม่เอา บทสัมภาษณ์ เมื่อ 24 ปีที่แล้ว ก็เน้นย้ำถึงเรื่องนี้

ภาพ Major Group

“ในกองถ่ายต้องมีระเบียบวินัย แม้กระทั่งนักแสดงต้องมีระเบียบ ไม่เน้นการมานั่งขายดารา แต่เลือกคนที่เหมาะกับบท เรื่องการกินการอยู่ทุกคนเท่ากันหมด ในกองถ่ายไม่มีใครวิเศษกว่าใคร การทำงานที่ดีต้องอาศัยแขนขาทุกคน เราไม่ยกย่องดารา”

“ใครไม่ดีเราก็ไม่เอา”

นี่คือตัวตนและแนวคิดในการทำงานของ “หม่อมน้อย” อีกหนึ่งคนสำคัญของวงการบันเทิงไทย ที่ทิ้งผลงานไว้แทนตัวตนที่จากไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก