จากข้อเขียนของ “ไมเคิล ไรท” ในหนังสือ “ฝรั่งคลั่งผี” ของสำนักพิมพ์มติชน ได้กล่าวถึง เลข 13 เอาไว้ว่า

ในยุโรปและอมริกาตึกสูงๆ มักจะลำดับชั้นว่า-10, 11, 12, 14, 15-หรือ-10, 12, 12a, 14, 15-เป็นต้น

เพราะชาวตะวันตกที่นับถือตนว่าเป็น “นักวิทยาศาสตร์” ต่างไม่อยากอยู่ชั้น 13 ทั้งๆ ที่รู้ว่า เมื่อเกิดเพลิงไหมัชั้น 12 กับ 14 โดนพอๆ กับชั้น 13 และตามสถิติไฟไหม้แทบไม่เคยเกิดบนชั้น 13 เลย

ตัวผมเองที่นับว่าตนเป็นคนสมัยใหม่ไม่ถือลางแบบงมงาย แต่ถ้าผมเขียนหนังสือถึงหน้า 11-12 ดูคล้ายจะจบหน้า 13, ผมจะเขียนเป็นหนังสือตัวโตๆ ห่างๆ ให้จบลงในหน้า 14 จนได้ (ในเรื่องนี้

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการหนังสือศิลปวัฒนธรรม เป็นพยานได้ว่าผมไม่เคยส่งหนังสือให้ท่านเป็น 13 หน้ากระดาษเลย)

ฝรั่งมังค่าผู้เจริญ หากจัดโต๊ะอาหาร 14 คน แล้วคนหนึ่งเกิดเบี้ยวก็จำต้องเกณฑ์คนใช้มานั่งเป็นคนที่ 14 อย่าให้ 13 คนร่วมโต๊ะอาหารเป็นอันขาด

วันศุกร์ที่ 13 เป็นวันต้องห้ามเดินทางทั้งๆ ที่รู้อยู่ดีว่าเรือบินจะตก, เรือจะจม, รถราจะชนกัน อาจจะเกิดวันไหนก็ได้แล้วทำไมฝรั่งผู้เจริญทางวิทยาศาสตร์, เหตุผล และปัญญาจึงงมงายยิ่งกว่าชาวอุษาทวีปโบราณในเรื่องเลข 13 เลขดีเลขร้าย, วันดี วันร้าย, ลางดีลางร้าย?

มองในแง่ตื้น

ฝรั่งมักอธิบายกันว่าที่เขาไม่ชอบเลข 13 เป็นเพราะพระเยซูเจ้ามีพระอัครสาวก 12 รวมองค์ท่านเป็น 13 ในวันก่อนที่ท่านจะถูกจับและประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน ท่านรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายพร้อมกับสาวก เป็น 13 คนร่วมโต๊ะอาหาร แต่นั้นมาฝรั่งจึงขยาดเลข 13

นับเป็นการมองปัญหาผิดทางทีเดียว เพราะความจริงเลข 13 เป็นเลขร้ายก่อนอยู่แล้ว ผู้แต่งเทพปกรณัมว่าด้วยพระเยซูจึงเน้นเลขนี้ไว้เป็นลางร้าย

เผ่าของชนชาติยิวแต่เดิมมี 13 เผ่า แต่สาบสูญไปเผ่าหนึ่ง ให้เหลือ 12

ในรอบปีดวงอาทิตย์จะเสด็จผ่านราศีถึง 13 ราศี, ไม่ใช่ 12. แต่แล้วราศีหนึ่ง (Ophiuchus-คนถืองู ถูกตัดออกให้เหลือเพียง 12 จนทุกวันนี้)

ในเทพปกรณัมเรื่องเทพเจ้า Arthur (สำนวนที่มีในปัจจุบันเก่าไม่เกิน 1,000 ปี แต่มีเค้าว่าเรื่องเดิมเกิดก่อนคริสตกาล) พระเจ้าอาร์เธอร์ มีอัศวิน 12 คนที่มีประเพณีนั่งรับประทานอาหารรอบโต๊ะกลม (The Round Table) ที่มีที่นั่ง 13ที่ ที่หนึ่งเป็น “เก้าอี้อันตราย” (The Chair Perilous) ใครนั่งต้องตาย ดังนั้นในการประชุมแต่ละครั้งอัศวินคนหนึ่งต้องขาดประชุม เพราะถ้าครบองค์ประชุมทั้ง 13 แล้วใครคนหนึ่งคือ King Arthur จะต้องตาย และอัศวินคนหนึ่งคนใดจะขึ้นเป็น King Arthur องค์ใหม่

เราจะเข้าใจโต๊ะกลมของพระเจ้าอาร์เธอร์ได้อย่างไร?

ประการแรก พระเจ้าแผ่นดินนั่งโต๊ะกลมไม่ได้ เพราะโต๊ะหมายถึงความเสมอภาค โต๊ะกลมของพระเจ้าอาร์เธอร์จึงไม่น่าเป็นโต๊ะอาหารธรรมดา

แล้วอะไรเอ่ยที่มีรูปร่างกลมๆ และแบ่งเป็น 12/13 ที่?

คำตอบที่โต้ไม่ได้คือ “รอบปี”

ปีทุกปีนั้นกลม (ทางโคจรของดวงอาทิตย์) และแบ่งเป็น 13 ห้อง (ราศี) ที่ปัจจุบันเหลือเพียง 12

แต่ปีไหนจะมี 13 เดือน?

ก็ต้องตอบว่าทุกปีมี 13 เดือน นั่นคือ 12 เดือนที่นับถือกันทุกวันนี้ กับเศษประมาณ 10 วันที่ได้มาจากความต่างกันระหว่างปีจันทรคติกับปีสุริยคติ

“เดือน” ที่ 13 นี้อันตรายเพราะเป็นแดนสนธยาระหว่างปีเก่ากับปีใหม่

ปีเก่าตายแล้ว แต่ปีใหม่ยังไม่เกิด

ประเพณีเกี่ยวกับระยะเวลาดังกล่าวผมไม่เคยเห็นในสยามแต่เป็นกิจประจำ “ปีใหม่” ของจีน, อินเดีย และลังกา คือมีการดับไฟในครัว, กินแต่ของสำเร็จรูป, ห้ามกวาดบ้าน, ห้ามทำกิจกรรม มีแต่การทำบุญกับการละเล่น แล้วค่อยปลุกไฟใหม่ เริ่มการงานใหม่ภายหลัง

เดือนที่ 13 นี้เป็น “เศษ” เดือน หรือ “เศษ” ของปี

คำว่า “เศษ” แปลว่า “ของเหลือ” “ของที่ไม่มีใครใช้”, “ของทิ้ง” ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางลบหรือดูถูก แต่คำนี้น่าสนใจมากและมีความหมายในทางบวกเหมือนกัน

“พญาเศษนาคราช ที่บรรทมของพระนารายณ์ มิได้หมายถึง”เศษงูที่เหลือ” แต่หมายถึง “เศษ” ของจักรวาลเก่าที่รอดจากการประลัยและเทพเจ้าจึงเอา “เศษ” นั้นมาใช้เป็น “พืช หรือเป็น “พิณทุ”

หรือเป็นฐานในการสร้างจักรวาลใหม่ เศษนาคราชจึงเป็นผู้ถนอมจักรวาลไว้บนเศียรเกล้า

ผู้ที่ศึกษาพิธียัชญาสมัยพระเวทอธิบายว่า สัตว์ที่ถูกฆ่านั้น ไม่ว่าเป็นแพะหรือวัว (สมัยพระเวทพราหมณ์ฆ่าวัว), ม้าหรือคน ล้วนแต่ถูกแบ่งส่วน ส่วนหนึ่งเผาให้พระอินทร์ พระพรหม ส่วนหนึ่งแบ่งให้พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี อีกส่วนหนึ่งแจกชาวบ้าน ที่เหลือ (เศษะ)” ตกเป็นของ “รุทระ” คือ พราหมณ์ผู้มีหน้าที่ชำแหละศพ “เศษะ” นั้นได้แก่หัวกับหาง

ตัวอะไรมีแต่หัวกับหาง? ก็งูและพญานาค รวมทั้งเศษนาคราช

พราหมณ์ “รุทระ” นั้นจะนำหางไปฝังท้ายบ้าน แต่หัวจะนำไปตอกไว้เป็นสิริมงคลเหนือประตูทางเข้าบ้านเมือง จนกลายเป็น “เกียรติมุข” หรือ “หน้ากาล” จนทุกวันนี้

แล้วในปีหน้าเมื่อจะกระทำยัชญาใหม่ก็จำเป็นต้องนำ “เศษะ”เก่าให้มาใช้เป็น “พืช” หรือ “พิณฑุ” ในการกระทำยัชญาใหม่ เป็นการต่อเนื่องทุกปีๆ

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ชัดว่า “เศษ” มิได้เป็นของเหลือทิ้งลงถังขยะ หากเป็นของเหลือที่มีค่าที่ต้องเก็บเอาไว้เพื่อสร้างอนาคตเช่นเดียวกับข้าวเปลือกที่เป็น “เศษ” ที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว แต่

ต้องเก็บไว้ปลูกในปีหน้า

เดือน 13 หรือ “เศษ” ของปีก็เช่นกัน แม้ว่ามันอันตรายและน่ากลัว แต่มันเป็นเครื่องต่อเนื่องระหว่างปีเก่าที่ตายไปแล้วกับชีวิตของปีใหม่ที่ยังไม่เกิด

คนที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติย่อมรู้ดีว่า ชีวิตนำไปสู่ความตายและความตายนำไปสู่ชีวิตใหม่ เส้นทางระหว่างการเกิดและการตายนั้นอยู่ในแสงสว่าง ใครๆ ก็เห็น แต่เส้นทางระหว่างการตายกับชีวิตใหม่

อยู่ในที่มืด จึงน่ากลัวทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นทางที่นำไปสู่แสงสว่างอีกที

ดังนั้น “เศษ” ที่อยู่ระหว่างความตายและชีวิตใหม่ไม่ว่าเป็นเศษของตัวยัชญา (เกียรติมุข) หรือเศษของปี (เดือน 13) จึงมีลักษณะสับสนคือทั้งน่าเกลียดน่ากลัวในขณะที่ยังเป็นสิริมงคล เศษของตัวยัชญาถึง

มี 2 ชื่อ คือ “หน้ากาล” (The Face of Death) กับ “เกียรติมุข” (The Face of Glory)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ (Strictly Necessary Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการของเว็บไซต์ feedforfuture.co ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์เราได้ทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนสมาชิกผู้ใช้งานของเว็บไซต์ ตลอดจนการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้ด้านประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อวิเคราะห์ และช่วยให้เราทราบถึงพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้ในการบันทึก และจดจำคุณลักษณะต่างๆ ที่ท่านได้เลือกขณะเข้าชมเว็บไซต์ของเรา เช่น หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ท่านชอบอ่านมากที่สุด เราจะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ และนำกลับมาใช้เมื่อท่านกลับเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง เพื่อปรับให้ท่านได้รับชมเนื้อหาได้ตรงกับความชอบของท่านให้มากที่สุด

  • คุกกี้เพื่อนำเสนอโฆษณาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Advertising Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ใช้เพื่อจดจำพฤติกรรมการอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ของท่าน รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ท่านใช้ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์การนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด และช่วยวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาที่เรานำเสนอด้วย ตลอดจนช่วยป้องกัน หรือจำกัดจำนวนครั้งที่ท่านจะเห็นโฆษณาเดิมซ้ำๆ

บันทึก